25 พ.ย.2564 – บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ร่วมกับบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด จัดเสวนา “FROM LAB TO JAB” ถ่ายทอดเทคโนโลยี และกระบวนการอันทันสมัย ตลอดจนกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพของแอสตร้าเซนเนก้า
เจมส์ ทีก ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ใน 15 เดือนที่ผ่านทางแอสตร้าฯ และพันธมิตรได้มุ่งมั่นและทุ่มเทในการผลิตเพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงวัคซีนอย่างเสมอภาค โดยปัจจุบันได้ส่งมอบวัคซีนไปกว่า 2,000 ล้านโดส สู่ 170 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ในประเทศที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง ก็ได้ส่งมอบวัคซีนไปให้กว่า 175 ล้านโดส จากการคาดประมาณผู้ได้รับวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดได้กว่า 50 ล้านเคส ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้กว่า 5 ล้านครั้ง และลดอัตราการเสียชีวิตได้กว่า 1,000 ล้านเคส เพื่อพัฒนาและกระจายวัคซีนอย่างครอบคลุมจึงได้มีการร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกกว่า 25 แห่ง หนึ่งในนั้น คือ สยามไบโอไซเอนซ์ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งตัววัคซีนที่ผลิตในไทยได้รับการรับรองคุณภาพทั้งจากในอเมริกาและในไทย จึงนับว่าเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่สุดในเซาท์อีส เอเชีย เพราะไม่เพียงการผลิตวัคซีนใช้ในประเทศเท่านั้น แต่ยังสามารถรองรับการผลิตและกระจายวัคซีนได้ทั่วภูมิภาคเอเชีย
“ด้วยประสิทธิภาพของฉีดวัคซีน ทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนในไทย คือ การเปิดประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วประเทศลดลง อัตราการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตก็ลดลงด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ได้สัญญากับประเทศไทยไว้ว่า จะส่งมอบวัคซีนให้ครบ 61 ล้านโดสภายในปีนี้ รวมไปถึงการสร้างความยั่งยืนในการเข้าถึงยา วัคซีน การให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เจมส์ กล่าวและว่า ในปี 2565 แอสตร้าเซนเนก้า จะยังคงทำงานร่วมกับสยามไบโอไซเอนซ์ และจะส่งมอบวัคซีนทั้งหมดตามตกลงในไตรมาสที่ 3 ปี 2565
ประธานบริษัท แอสตร้าฯ เผยถึง การผลิตวัคซีนรุ่น 2 รหัส AZD2816 โดยใช้เทคโนโลยีไวรัล เวกเตอร์เช่นเดิม แต่มีการดัดแปลงเพื่อให้มีความจำเพาะเจาะจงต่อสายพันธุ์เบต้ามากขึ้น โดยจะเห็นผลของการพัฒนาได้ในช่วงปลายปี 2564 แต่ย้ำว่าวัคซีนรหัส AZD1232 ที่มีใช้ในขณะนี้ก็มีประสิทธิผลสูงมากเช่นกัน ในการศึกษาทางคลินิกสามารถป้องกันการป่วยรุ่นแรงได้ 80-90%
ชีนา เบน รองประธานฝ่ายเวชภัณฑ์ยาในกลุ่มโรคมะเร็งวิทยา และผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง แอสตร้าเซนเนก้า กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกับบริษัทพันธมิตร โดยต้องได้รับการดูแลเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกันสม่ำเสมอ ทั้งอุปกรณ์ บุคลากรในการผลิตวัคซีน ซึ่งในทุกล็อตการผลิตวัคซีนได้ผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้น และทดสอบกว่า 60 ข้อต่อหนึ่งรอบการผลิต รวมไปถึงการตรวจสอบโดยหน่วยงานจากภายนอกด้วย
ดร.ทรงพล ดีจงกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด กล่าวว่า ประสบการณ์ในการผลิตชีววัตถุในระยะ 10 ปีผ่านมา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับการใช้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เมื่อมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับทางแอสตร้าฯ จึงได้มีการเตรียมมาตรฐานและคุณภาพ 4 ข้อ คือ 1.โรงงาน ที่มีการปรับสายการผลิตให้ได้คุณภาพของวัคซีน 2.บุคลากร โดยการต่อยอดความรู้ในบุคลากรเพื่ออนาคต 3.ความพร้อมของวัตถุดิบในการผลิต และ4.การถ่ายเทคโนโลยีในการผลิตกับแอสตร้า ในอนาคตก็จะมียาสำหรับโรคเลือดและมะเร็ง หรือเทคโนโลยีในการผลิตชุดตรวจโควิด19 ด้วย
ดร.ทรงพล ให้ข้อมูลว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า คือวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ ซึ่งผลิตโดยการใส่สารพันธุกรรมส่วนของโปรตีนหนามแหลม (spike protein) ของไวรัส SARS-CoV-2 ไปในอะดีโนไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดโรค อะดีโนไวรัสนี้เป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไป แต่นำมาดัดแปลงพันธุกรรมจนกลายเป็นเชื้อพาหะที่ไม่ก่อให้เกิดโรค
อะดีโนไวรัสที่ได้รับการดัดแปลงแล้วจะทำหน้าที่เป็นพาหะให้สารพันธุกรรมของโปรตีนหนามแหลมของไวรัส SARS-CoV-2 เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการสร้างโปรตีนนี้ขึ้น และจะกระตุ้นระบบการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น
ดร.ทรงพล ให้ข้อมูลเพิ่มเติ่มอีกว่า สำหรับขั้นตอนการผลิตวัคซีนทางชีวภาพ โดยประมาณใช้เวลาประมาณ 120 วัน ในการผลิต 1 ล็อตต่อ 4 เดือน ผ่านการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานควบคุมคุณภาพของสยามไบโอไซเอนซ์ หน่วยงานควบคุมคุณภาพของแอสตร้าฯ ประเทศอังกฤษ และหน่วยงานกลาง EU คือ 1. การพัฒนากระบวนการ เพื่อเร่งการขยายกระบวนการผลิต เราได้สร้างกระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ และสามารถสร้างกระบวนการผลิตแบบเดียวกันได้ในโรงงานอีกหลายแห่งทั่วโลกการเพาะและเก็บเกี่ยววัคซีน (60 วัน) 2. การทำให้เซลล์เพาะเลี้ยงติดเชื้อเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีชีวิตถูกทำให้ติดเชื้อโดยอะดีโนไวรัสเวกเตอร์ตัวฝากที่ถูกดัดแปลง เพื่อให้เซลล์เจ้าบ้านเพิ่มจำนวนเพื่อผลิตเป็นวัคซีน
3.การเพิ่มจำนวนเซลล์ เมื่อไวรัสพาหะเบื้องต้นถูกผลิตแล้ว ยังต้องมีการเพิ่มจำนวนการผลิตอีกนับล้านเซลล์ โดยการให้เซลล์เจ้าบ้านเติบโตในถังปฏิกรณ์ชีวภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และถูกทำให้ติดเชื้อโดยเชื้อไวรัสตั้งต้น เพื่อสร้างวัคซีนเป็นผลผลิตสุดท้ายเราสามารถผลิตวัคซีนมากกว่า 2,500 โดส จากเซลล์เจ้าบ้านหนึ่งลิตร แต่กระบวนการทางชีวภาพ การผันผวนในการผลิตนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ 4. การทำให้วัคซีนบริสุทธิ โดยวัคซีนจะถูกแยกออกจากเซลล์เจ้าบ้านและทำให้บริสุทธิ์ ในการทำให้วัคซีนบริสุทธิ์ มีขั้นตอนการกรองหลายครั้งเพื่อกำจัดเศษเซลล์ที่ตายและของเสีย
การผลิตในขั้นสุดท้าย (30-60วัน) 5. การติดฉลาก และบรรจุภัณฑ์ ขวดบรรจุวัคซีนจะถูกติดฉลาก บรรจุลงหีบห่อ และเก็บในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส หรือ 36-46 องศาฟาเรนไฮต์ เพื่อให้มั่นใจถึงความเสถียร และอายุการใช้งานของวัคซีน เมื่อมีการจัดเก็บ และขนส่งในอุณหภูมิที่เย็นตามกำหนด วัคซีนสามารถนำไปใช้ในระยะเวลาอย่างน้อยหกเดือน 6. การบรรจุและปิดผนึกสารปรุงแต่ง เช่น น้ำ น้ำตาล และแร่ธาตุจะถูกเติมเข้าไปในการผลิตขั้นสุดท้าย แล้วจึงบรรจุวัคซีนลงในขวดยาในขั้นตอนนี้ทำในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการจะต้องเคลื่อนไหวอย่างช้าๆและระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการมีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนของอากาศที่บริสุทธิ์การส่งมอบวัคซีนสู่ชุมชน ~7-14 วัน* การทดสอบเสร็จสมบูรณ์ คือ มาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง มีการทดสอบและควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวดมากกว่า 60 รายการ ในทุกๆชุดการผลิต ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนเสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าวัคซีนที่ผลิตออกมามีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และได้คุณภาพตามมาตรฐาน การทดสอบวัดผลกระทบจากความร้อน แสง การแผ่รังสี และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่อวัคซีน 8. การรับรองรุ่นการผลิต ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตวัคซีนได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดและยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงานกำกับดูแลยาเพื่อตรวจสอบ วัคซีนแต่ละชุดอาจต้องใช้เอกสารหลายพันหน้าก่อนที่จะได้รับการอนุมัติให้นำไปใช้ ป้องกันวัคซีนปลอม และ9. การกระจายและส่งมอบขนส่งวัคซีนไปยังศูนย์กระจายวัคซีนซึ่งรัฐบาลและองค์กรนานาชาติดูแลรับผิดชอบเพื่อดำเนินการแจกจ่ายต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แอสตร้าเซนเนก้า จับมือโรงพยาบาลพุทธชินราช ยกระดับการดูแลรักษาเชิงรุก ส่งมอบนวัตกรรม Asthma Smart Kiosk
กรุงเทพฯ – บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ทำการติดตั้ง Asthma Smart Kiosk เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ผลักดันจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นเมืองต้นแบบแห่งการดูแลผู้ป่วยโรคปอด
เครือ BDMS นำร่อง รพ.มะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ จับมือ แอสตร้าเซนเนก้า ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด
บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมลงนามความร่วมมือภายใต้โครงการ
แอสตร้าเซนเนก้า ร่วมกับ ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช จัดงาน “Rethink Pink We Care” ปีที่ 2
เนื่องในเดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านโรคมะเร็งเต้านม แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย เปิดตัวแคมเปญ “Making Health Happen” เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีของคนไทย ชุมชนและโลกอย่างยั่งยืน
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำความเป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก เปิดตัวแคมเปญ “Making Health Happen”
ดร.นิว ฟาดรอยเตอร์ แต่เขียนโดยคนไทย กระจายโดยสามนิ้วเพื่อจูงจมูกสามนิ้ว
ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas