'นพ.ธีระ' เผยโลกกำลังจับตาวัคซีนโควิดชนิดพ่นทางจมูก!

'หมอธีระ' แจงข้อมูลโควิดโลก เผยผลวิจัยแดนปลาดิบชี้ BA.5 ออกอาการเร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์อื่น บอกโลกกำลังจับวัคซีนชนิดพ่นทางจมูกว่าจะใช้ทดแทนแบบฉีดได้ดีแค่ไหน

02 ก.พ.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 144,710 คน ตายเพิ่ม 747 คน รวมแล้วติดไป 675,350,939 คน เสียชีวิตรวม 6,763,229 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.79 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 78.17

...อัพเดตธรรมชาติของโรคโควิด-19
Okata T และคณะจากประเทศญี่ปุ่น เผยแพร่ผลการศึกษาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่มีการระบาดของ Omicron BA.5 ลงในวารสารการแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ Emerging Infectious Diseases ฉบับมีนาคม 2566

สาระสำคัญคือ การชี้ให้เห็นว่าระยะเวลาหลังจากที่ติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron BA.5 จนกระทั่งเกิดอาการนั้น ใช้เวลาเฉลี่ยสั้นกว่าสมัยสายพันธุ์ก่อนๆ ระบาดมา ทั้งนี้สายพันธุ์ก่อน Omicron นั้นมักใช้เวลาราว 5-6 วัน
โดยเฉลี่ยแล้ว หลังจากที่ได้รับเชื้อ BA.5 มา มักจะเกิดอาการป่วยภายใน 2.6 วัน (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 2.5–2.8 วัน)

หากเปรียบเทียบ BA.5 เฉพาะกับ Omicron สายพันธุ์ย่อยอื่นๆ ที่เคยระบาดมา ได้เคยมีการศึกษาทั่วโลกแล้วพบว่า Omicron BA.1 ใช้เวลาราว 2.9-4.6 วัน โดยมีข้อมูลมาจากหลายงานวิจัย ตั้งแต่ 3.3 วัน (ผลการศึกษาจากนอร์เวย์), 4.6 วัน (ในเกาหลีใต้), 3.2 วัน (ในเนเธอร์แลนด์), 3.1 วัน (ในสเปน), และ 2.9 วัน (ในญี่ปุ่น)
ในขณะที่สายพันธุ์ BA.2 นั้น 4.4 วัน (การศึกษาในฮ่องกง)

...อัพเดตวัคซีนโควิด-19
วารสาร Nature ฉบับต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ เผยแพร่บทความทบทวนสถานะของวัคซีนโควิด-19 ได้อย่างน่าสนใจ
ตั้งแต่เริ่มมีการใช้วัคซีนจนถึงปัจจุบัน มีการฉีดให้แก่ประชากรโลกไปกว่า 13,000 ล้านโดส โดย mRNA vaccines ได้รับการใช้ไปมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม จากปรากฏการณ์ที่ไวรัสโรคโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ไปอย่างต่อเนื่อง มีการหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีน ทำให้ต้องมีการวิจัยเพื่อผลิตวัคซีนรุ่นใหม่ๆ และหาวิธีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันวิธีอื่นๆ ควบคู่กันไป อาทิ การวิจัยวัคซีนชนิดพ่นทางจมูก เพื่อหวังกระตุ้นภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจให้ได้เร็วขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่หลายคนจับตามองคือ วัคซีนชนิดพ่นทางจมูก ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 5 ตัวที่บางประเทศที่ได้เริ่มนำไปใช้แล้ว ได้แก่ จีน (2) อินเดีย (1) รัสเซีย (1) และอิหร่าน (1) ทั้งนี้ยังคงต้องมีการติดตามศึกษากันต่อไปว่า วัคซีนที่ใช้พ่นทางจมูกนี้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดฉีดที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน

...สำหรับไทยเรา
ขอให้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องระหว่างใช้ชีวิตนอกบ้าน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
1. Okata T et al. SARS-CoV-2 Incubation Period during the Omicron BA.5–Dominant Period in Japan. Emerging Infectious Diseases. March 2023.
2. Callaway E. The next generation of coronavirus vaccines: a graphical guide. Nature. 1 February 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

ครม.ปรับเงื่อนไขชดใช้ทุนของ รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

ครม.มีมติปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567