อัปเดตวัคซีน Bivalent ผลกระตุ้นภูมิดีกว่ารุ่นเก่า

'นพ.ธีระ' อัปเดตวัคซีน Bivalent ชี้มีงานวิจัยแล้วกว่า 10 ชิ้น ชัดเจนว่ากระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ BA.5 ได้ดีกว่าวัคซีนรุ่นเก่า โดยเฉพาะสายพันธุ์ย่อยใหม่ที่น่ากังวลอย่าง XBB

19 ม.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 19 มกราคม 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 215,384 คน ตายเพิ่ม 909 คน รวมแล้วติดไป 672,069,049 คน เสียชีวิตรวม 6,734,505 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส และรัสเซีย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 96.72 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 94.27

...อัปเดตวัคซีน Bivalent จนถึงปัจจุบัน มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลในการกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดหรือแอนติบอดี้แล้ว 10 ชิ้นทั่วโลก

โดยรวมแล้วชัดเจนว่าวัคซีน Bivalent สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ BA.5 ได้ดีกว่าวัคซีนรุ่นดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสายพันธุ์ย่อยใหม่ที่น่ากังวลอย่าง XBB (รวมถึง XBB.1.5)

ยามที่ XBB.1.5 เป็นที่คาดการณ์ว่าจะนำการระบาดทั่วโลก การอัปเดตอาวุธป้องกันของแต่ละประเทศจึงมีความจำเป็นยิ่ง ในยามวิกฤติใดๆ ที่เสี่ยงต่อชีวิตคน ทัศนคติในการจัดการควรเน้นป้องกัน มิใช่ให้ตกอยู่ในภาวะไฟลามแล้วค่อยหาขันน้ำมาตักราด

...สำหรับไทยเรา การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำงาน เรียน พบปะผู้คน สังสรรค์ปาร์ตี้ เดินทางท่องเที่ยว ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง มีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ คนเยอะ คลุกคลีใกล้ชิดโดยไม่ป้องกันตัว ระบายอากาศไม่ดี เป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อได้

ไม่สบาย ให้รีบตรวจ หากติดเชื้อ แยกตัวอย่างน้อย 7-10 วันจนอาการดีขึ้นและตรวจได้ผลลบ แล้วค่อยออกมาใช้ชีวิต ป้องกันเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์ ติดเชื้อ ไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อ Long COVID

แม้ปัจจุบันจะมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางดูแลรักษาภาวะ Long COVID จำนวนมาก แต่ยังต้องใช้เวลา และยังไม่มีวิธีที่มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
Fawzy NA et al. A Systematic Review of Trials Currently Investigating Therapeutic Modalities for Post-Acute COVID-19 Syndrome and Registered on World Health Organization International Clinical Trials Platform. Clin Microb Inf. 12 January 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอธีระ’ ข้องใจตัวเลขโควิด สัปดาห์ก่อนพุ่งอาทิตย์นี้ลดฮวบ ไม่ใช่เรื่องปกติ

สัปดาห์ก่อน ตัวเลขนอนรพ.พุ่งขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้านั้นถึง 78% แต่สัปดาห์ล่าสุดนี้ ลดลงฮวบฮาบจากสัปดาห์ก่อนถึง 57.7% ส่วนตัวคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ควรต้อง explore

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19