ราชบัณฑิตยงตอกย้ำเรื่องการใส่หน้ากากอนามัย บอกกาลเวลาผ่านไปแนวทางต้องผ่อนปรนให้สมดุล ยกคำแนะนำ WHO เป็นแนวทาง
18 ม.ค.2566 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และราชบัณฑิต โพสต์เฟซบุ๊กพร้อมแนบลิงค์ข่าวจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในหัวข้อ “โควิด 19 การใส่หน้ากากอนามัย” ระบุว่า ปัจจุบันต้องยอมรับว่า โรคโควิด 19 กำลังเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล ความรุนแรงของโรคลดลงมาโดยตลอด ระยะเวลาผ่านมาแล้วถึง 3 ปี ประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไปแล้ว หรือฉีดวัคซีนไปเป็นจำนวนมากพอสมควรแล้ว ปัญหาขณะนี้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะต้องปกป้อง ไม่ให้เกิดความรุนแรง และเสียชีวิตได้
เมื่อกาลเวลาผ่านไป แนวทางการปฏิบัติก็ย่อมมีการผ่อนปรนแบบสมดุล
การใส่หน้ากากอนามัย องค์การอนามัยโลก (13 มกราคม 2566) ให้คำแนะนำในการใส่หน้ากากอนามัยใน
ผู้ที่สัมผัสโควิด 19 ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคโควิด 19 แล้วจะมีความรุนแรง อย่าง เช่นในผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือที่รู้จักกันในนาม 608
ในคนปกติทั่วไป ที่อยู่ในพื้นที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ในแต่ละพื้นที่ จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยง และสถานการณ์ของการระบาดของโรค
การฉีดวัคซีนให้ครบ 3 เข็ม เป็นอย่างน้อย จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
อ่านรายละเอียดได้จาก https://www.who.int/news/item/13-01-2023-who-updates-covid-19-guidelines-on-masks--treatments-and-patient-care?fbclid=IwAR1029FG8QJVHjhrBLw0P8Vifcn0XNh0ZjbNoizF3uZ4Jj6SoXZGm79hgII
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'หมอยง' แฉธุรกิจสำนักพิมพ์ทางวิชาการกับดักผลงานวิชาการ!
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
‘หมอยง’ สะท้อน จริยธรรมการใช้ AI กับงานทางวิชาการ งานวิจัย
ถ้าให้ AI ทำงานแทนเราทั้งหมด โดยไม่ได้ออกจากแนวความคิดเราเลย หรือเอา AI มาเป็นผู้ร่วมวิจัย ถือว่าไม่เป็นยอมรับ