ข่าวดี! วัคซีนเข็มกระตุ้น 2 สายพันธุ์ลดป่วยและตายเห็นผลชะงัก

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาฯ บอกข่าวดีวัคซีนเข็มกระตุ้น 2 สายพันธุ์ลดป่วยและตายจากการติดเชื้อเห็นผลชัดเจน หลังผลวิจัยในอิสราเอลที่ฉีดถึง 6 แสนคนลดอัตรานอน รพ.และตายถึงกว่า 80%

12 ม.ค.2566 - ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ Center for Medical Genomics คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊กพร้อมรูประบุว่า ข่าวดี…วัคซีนเข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์ (ไบวาเลนต์-บูสเตอร์) สามารถช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลรวมทั้งลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์

การศึกษาชิ้นนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มแรกที่ทำการประเมินประสิทธิผลของวัคซีนเข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์จากอาสาสมัครสูงวัย (≥65 ปี) ในประเทศอิสราเอลจำนวนกว่า “6 แสนคน” ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นที่สองประเภทสองสายพันธุ์เพียง "เข็มเดียว" พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อรุนแรงจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ถึง 81% และลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ถึง 86% (โดยติดตามหลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไป 70 วัน)

ผลงายวิจัยชิ้นนี้เตรียมพิมพ์ในวารสาร Lancet ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทันทีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ยังรอการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญสาขานี้

การศึกษาย้อนหลังครั้งนี้ได้นำข้อมูลจากศูนย์บริการสุขภาพทั่วไป (Clalit Health Service) ของประเทศอิสราเอลที่มีโรงพยาบาลใหญ่ในสังกัด 8 แห่งในช่วง ก.ย.- ธ.ค. 2565

อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 622,701 คน โดยมีผู้ที่คุณสมบัติตรงตามเกณฑ์จำนวน 85,314 คนหรือ 14% ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์ (ซึ่งมีส่วนผสมของไวรัสดั้งเดิม อู่ฮั่น และ โอมิครอน BA.4 และ BA.5) จำนวน 1 เข็มและติดตามอาการไปอีก 70 วัน

พบว่าผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและมีการติดเชื้อโอมิครอนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการโควิดมีเพียง 6 คน เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมีจำนวนทั้งสิ้นถึง 276 คน

ส่วนผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์และต่อมาเสียชีวิตเนื่องจากการติดเชื้อโควิดมีเพียงรายเดียวเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับการวัคซีนเข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์มีจำนวนผู้เสียชีวิตถึง 73 คน

การค้นพบครั้งนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่กลุ่มเปราะบาง (608) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์ (ไบวาเลนต์-บูสเตอร์)

ในประเทศอิสราเอลในช่วงที่จัดเก็บข้อมูลระหว่าง 24 ก.ย.2022-12 ธ.ค. 2565 มีการระบาดของโอมิครอน
BA.2 มีส่วนแบ่งการระบาด 0.69% BA.4 มีส่วนแบ่งการระบาด 2.69% BA.5 มีส่วนแบ่งการระบาด 85.03% BA.2.75 มีส่วนแบ่งการระบาด 4.01% BQ.1* มีส่วนแบ่งการระบาด 6.89% XBB* มีส่วนแบ่งการระบาด 0.31% และ เดลตาครอน มีส่วนแบ่งการระบาด 0.38%

ทำให้คาดคะเนว่าได้การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสองสายพันธุ์สามารถลดอัตราการเจ็บป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิตได้ทั้งจากการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.2, BA.4, BA.5 และโอมิครอนกลายพันธุ์สายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ BQ.1*, XBB*, และเดลตาครอน

แม้ว่าโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ เช่น BQ.1* และ XBB* ได้ปรับส่วนโปรตีนหนามจนแอนติบอดีความจำเพาะสูง (narrow spectrum) ซึ่งผลิตโดยเม็ดเลือดขาวประเภทบีเซลล์ (B-cells) ไม่อาจจดจำ เข้าจับและทำลายได้ แต่โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ก็ไม่สามารถรอดพ้นระบบภูมิคุ้มจากเม็ดเลือดขาวประเภททีเซลล์ (T-cells) ได้ โดยทีเซลล์จะหลั่งสารกระตุ้นเม็ดเลือดขาวหลากหลายประเภทเข้าทำลายเซลล์ติดเชื้อโควิด โดยไม่คำนึงว่าเซลล์นั้นจะติดโควิดเป็นสายพันธุ์ใด (board spectrum) ได้ถึงร้อยละ 85

https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=4314067
https://www.scientificamerican.com/.../why-covids-xbb-1.../

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

คู่มือฉบับเร่งด่วนที่เจ้าของควรรู้ 'ไข้หวัดนก' ในแมว-สุนัข

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "31 รัฐในสหรัฐ เผชิญไข้หวัดนกในแมวและสุนัข

จับตา! 'ไข้หวัดนก' ระบาดใหม่ 2 ราย ในกัมพูชา พบเด็กอุ้มซากไก่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กัมพูชาพบผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 รายใหม่ 2 ราย ในจังหวัดตาแก้ว

ถอดบทเรียนการแพร่ระบาด 'โควิด' จากตลาดนัดกลางคืน

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนการแพร่ระบาดโควิด-19 จากตลาดนัดกลางคืน (outdoor night market) ซึ่งไม่มีแสงแดด