'หมอยง' โพสต์เรื่องโควิด-19 ในฐานะราชบัณฑิต เปิด 15 ข้อเรื่องบทเรียนโควิด-19 ในปีที่ 4 ชี้แนวโน้มโรคคงอยู่กับเราเหมือนโรคลมหายใจอื่นๆ เชื่อ WHO จะเลิกนับตัวเลขในไม่นาน
04 ม.ค.2566 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และราชบัณฑิต โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 บทเรียน โควิด 19 เมื่อ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4” ระบุว่า ระยะเวลาผ่านไป ความรู้เกี่ยวกับ covid 19 ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด เป็นโรคใหม่ จึงจำเป็นต้องใช้ความรู้ และวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหา เรามีผู้เชี่ยวชาญมากเหลือเกิน จึงเกิดความสับสนในสังคม การเปลี่ยนแปลงเห็นได้ชัดเจนดังนี้
1.การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทำให้ความรุนแรงของโรคลดลงมาโดยตลอด ความรุนแรงของโรคที่ลดลงเพื่อความอยู่รอดของตัวไวรัส และสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่าย ความรุนแรงจะลดลง
2.ความรุนแรงลดลง ทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เป็นแบบไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย จึงยากที่จะควบคุม
3.ประเทศไทยมีการติดเชื้อไปแล้วไม่น้อยกว่า 70% หรือประมาณ 50 ล้านคน และก็เช่นเดียวกับประเทศต่างๆในโลกนี้ ประชากรส่วนใหญ่จะเคยติดเชื้อแล้ว
4.ในระยะแรกมีมาตรการเข้มงวด ปิดบ้านปิดเมือง งดการเดินทาง แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการแพร่กระจายของโรคได้ จะเห็นได้ว่าเมื่อมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นก็สามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกเหมือนกัน
5.การป้องกันสายพันธุ์ใหม่จากผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ในสภาวะปัจจุบัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะป้องกัน ใช้แต่เฝ้าระวังการตรวจสายพันธุ์เท่านั้น
6.ถึงแม้จะมีมาตรการการตรวจ ก่อนเดินทางอย่างในอดีต ก็ไม่สามารถป้องกันสายพันธุ์ใหม่ที่จะเข้ามาระบาดได้ เป็นเพียงช้าหรือเร็วเท่านั้น
7.ในระยะแรกการตรวจวินิจฉัย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค จึงใช้การตรวจวินิจฉัยที่มีความไวสูงมาก คือ RT PCR ต่อมาเมื่อความรุนแรงลดลง การตรวจด้วยความไวต่ำ ประมาณ 80% คือ ATK ก็เป็นที่ยอมรับถูกนำมาใช้ เพราะมีราคาถูกกว่ามาก และการตรวจจะลดลงอีก จะตรวจเฉพาะในผู้กลุ่มที่มีอาการเพื่อการวินิจฉัยเท่านั้น
8.ระยะแรกความหวังในการยุติการระบาดของโรคอยู่ที่วัคซีน เมื่อระยะเวลาผ่านไป ก็พบว่าวัคซีนไม่สามารถที่จะยุติการระบาดของโรคได้ เป็นเพียงลดความรุนแรงของโรคลงเท่านั้น
9.เวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่า วัคซีนแต่ละ platform หรือแต่ละชนิด ไม่ได้แตกต่างกันเลย อย่างประเทศตะวันตก ญี่ปุ่น ใช้แต่วัคซีน mRNA การระบาดของโรคขณะนี้ก็อยู่ในประเทศต้นๆ และอัตราผู้เสียชีวิตก็ไม่ได้แตกต่างกัน ถ้าตู่ตัวเลขต่อประชากรก็ไม่น้อยเลยทีเดียว
10.การลดความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับจำนวนเข็มของวัคซีน การฉีดวัคซีนครบ หมายถึงจะต้องฉีด 3 ครั้ง เป็นอย่างน้อยคือการฉีดเบื้องต้น 2 ครั้ง และกระตุ้นอีก 1 ครั้ง ระยะเวลาผ่านมานาน จากการเริ่มให้วัคซีนมาถึงปัจจุบันรวม 2 ปี การกระตุ้นครั้งที่ 2 หรือ 3 สามารถทำได้ เพื่อยกระดับภูมิต้านทานของร่างกายในการที่จะลดความรุนแรงของโรค
11.ประเทศต่างๆ ได้มีการทำลายวัคซีนที่หมดอายุทิ้งเป็นจำนวนมาก เพราะในระยะแรกมีการจองกัน เป็นจำนวนมาก ความสูญเสียค่าใช้จ่ายของวัคซีนเป็นจำนวนมาก เพราะจองแล้วต้องจ่ายเงิน ไม่สามารถเอาเงินคืนได้ การทำตามแรงกดดันทางสังคม ทำให้สูญเสียเงินอย่างมาก และเป็นบทเรียนสอนให้รู้จักแบ่งปัน ขณะนี้บริษัทวัคซีนต่างๆ ลดการผลิต ลงอย่างมาก และตลาดวัคซีนขณะนี้เป็นของผู้ซื้อ วัคซีนที่รอวันหมดอายุมีเป็นจำนวนมาก รอการทำลายทิ้ง
12.แนวโน้มของโรคในอนาคต โรคโควิด 19 ก็คงจะอยู่กับเรา และเป็นโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ
13.ใน 3 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า มีวิธีการรักษา ป้องกัน เกิดขึ้นทางสื่อสังคมมากมาย รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ สมุนไพร ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล ไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับ ในการพิสูจน์ว่าใช้ได้จริง ตามกฎเกณฑ์มาตรฐาน ประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญมากเหลือเกิน จึงเกิดความสับสนในสังคม
14.บทเรียนที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่า การแก้ปัญหาจะต้องใช้วิทยาศาสตร์ การศึกษาวิจัย มากกว่า การใช้ความรู้สึก คิดว่า คาดว่า มาแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหา ทางสื่อสังคม ผลักดัน ทำให้เกิดความสูญเสียทาง สาธารณสุข จิตใจ เศรษฐกิจ สังคม เราจะต้องเรียนรู้อยู่กับโรคนี้ต่อไป
15.ปีที่ 4 นี้ ทุกคนยอมรับและอยู่กับโควิด 19 เศรษฐกิจสังคมจะเข้าสู่ภาวะปกติ การนับจำนวนไม่สามารถทำได้จริง และในที่สุดองค์การอนามัยโลกก็คงจะยุติการนับจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต เพราะตัวเลขที่ได้มาต่ำกว่าความเป็นจริงมาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง
'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก