ศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยฯ เผยวัคซีนซิโนฟาร์ม ผลข้างเคียงการฉีด อาการรุนแรง 17 เสียชีวิต 22 ราย


20 พ.ย. 2564 - ศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รายงาน ผลข้างเคียงการฉีด "วัคซีนซิโนฟาร์ม" Sinopharm จากผู้รับวัคซีนโควิด จำนวน 13,800,281 โดส

ผู้รับวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 7,031,240 พบผู้มีอาการไม่พึงประสงค์ ดังนี้

day 0 (ขณะสังเกตอาการ) 0.39 % = 27,152 ราย
day 1 (หลังฉีดวัคซีน 1 วัน) 0.63 % = 44,594 ราย
day 7 (หลังฉีดวัคซีน 7 วัน) 0.31 % = 22,044 ราย

อาการไม่พึงประสงค์ ที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

ปวดศีรษะ 0.56 %
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 0.43 %
เหนื่อย เพลีย 0.41 %
ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด 0.37 %
อาการไข้ 0.36 %

ผู้รับวัคซีน "วัคซีนซิโนฟาร์ม" เข็มที่ 2 จำนวน 6,769,041 ราย พบผู้มีอาการไม่พึงประสงค์ ดังนี้

day 0 (ขณะสังเกตอาการ) 0.06 % = 4,097 ราย
day 1 (หลังฉีดวัคซีน 1 วัน) 0.34 % = 22,688 ราย
day 7 (หลังฉีดวัคซีน 7 วัน) 0.22 % = 14,758 ราย
อาการไม่พึงประสงค์ ที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

ปวดศีรษะ 0.32 %
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 0.27 %
ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด 0.25 %
เหนื่อย เพลีย 0.24 %
อาการไข้ 0.21 %

* สัดส่วนของผู้รายงานอาการข้างเคียงต่อจำนวนเข็มที่ฉีด

หมายเหตุ

ราชวิทยาลัยฯ ได้รับรายงานผู้เสียชีวิตสะสม 22 ราย พบว่าเสียชีวิตจากติดเชื้อโควิด 2 ราย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 4 ราย หัวใจล้มเหลว 2 ราย จากโรคประจำตัว 5 ราย จาก HIV ที่ไม่ได้รับการรักษา 1 ราย หัวใจเต้นผิดจังหวะ 1 ราย เส้นเลือดสมองแตก 1 ราย ปอดอักเสบ 1 ราย ติดเชื้อในกระแสเลือดและปอดอักเสบ 1 ราย เส้นเลือดหัวใจตีบ 1 ราย เส้นเลือดสมองตีบและสมองบวม 1 ราย และรอการชันสูตร 2 ราย

สำหรับรายงานผู้มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง 17 ราย สาเหตุจากมีภาวะเส้นเลือดในสมองตีบจากโรคประจำตัว 4 ราย ภาวะเส้นเลือดสมองตีบ 1 ราย ภาวะเส้นเลือดสมองแตก 5 ราย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 1 ราย ภาวะแพ้วัคซีนรุนแรง 3 ราย แพ้วัคซีนรุนแรง SJS 1 ราย และเวียนศีรษะ 2 ราย

ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 743,481 คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้