'หมอยง' ฟันธง โควิด ระยะฟักตัวสั้นลง ติดง่ายขึ้น ความรุนแรงของโรคลดลง

'หมอยง' ฟันธง ปัจจุบัน โควิด ระยะฟักตัวสั้นลง แต่ติดง่ายขึ้น ความรุนแรงของโรคลดลง ในอนาคตความรุนแรงของโรคจะลดลงตามลำดับ และในที่สุดเราก็คงต้องอยู่กับไวรัสตัวนี้ตลอดไป

23 ธ.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

โควิด 19 ระยะฟักตัวสั้นลง ติดง่ายขึ้น ความรุนแรงของโรคลดลง

ตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ระยะฟักตัวของโรคในระยะแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ระยะฟักตัวสั้นลงมาโดยตลอด จนมาถึงสายพันธุ์ปัจจุบัน โอมิครอน มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 3 วัน นับจากวันสัมผัสโรคจนถึงมีอาการ

เมื่อระยะฟักตัวสั้นลงทำให้ระบบภูมิต้านทานที่มีอยู่ เตรียมพร้อมไว้ที่จะกระตุ้นรับการจู่โจมเข้ามา ในการระดมออกมาต่อสู้ป้องกัน ทำไม่ทัน จึงทำให้ติดต่อกันง่ายขึ้น ในบางครั้งถึงแม้จะมีระดับภูมิต้านทานเกิดขึ้นสูงแล้ว ก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ระดับภูมิต้านทานที่มีอยู่ ยังพอช่วยในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของตัวไวรัสได้ในระยะเวลาต่อมา จึงเป็นเหตุให้ความรุนแรงของโรคลดลง

ในภาพรวมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย มากกว่า 90% มีภูมิต้านทานต่อโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นจากการฉีดวัคซีน หรือโดยการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ติดเชื้อแล้ว มากกว่า 70 % ทำให้ได้รับเชื้อแล้วถึงแม้ว่าจะติดโรคได้ อาการจะน้อยลง

และในอนาคตภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และขยับเข้าตรงสายพันธุ์มากขึ้นจากการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ความรุนแรงของโรคก็จะลดลงตามลำดับ และในที่สุดเราก็คงต้องอยู่กับไวรัสตัวนี้ตลอดไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด

'นพ.ยง' แนะแนวทางเรียนแพทย์บอกจบแล้วทำอาชีพอะไรก็ทำได้ดี

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย