'ดร.อนันต์' เผยงานวิจัยที่เชื่อว่าสายพันธุ์บรรพบุรุษของ'โอมิครอน'น่าจะถูกบ่มเพาะในทวีปแอฟริกา แต่ภายหลังทีมวิจัยพบข้อมูลรหัสพันธุกรรมที่ไปเก็บมามีการปนเปื้อนทำให้ผลที่อ่านมาได้ไม่น่าเชื่อถือ จึงถอนงานวิจัย
21 ธ.ค.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก ระบุว่า
เมื่อช่วงปลายเดือนที่แล้วมีงานวิจัยชิ้นนึงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Science ที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการวิจัยด้านโควิดพอสมควร งานวิจัยชิ้นนี้รายงานว่าข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสที่ไปเก็บตัวอย่างในประเทศต่างๆในทวีปแอฟริกา 22 ประเทศ ก่อนช่วงการระบาดของโอมิครอน (เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว) พบว่า สารพันธุกรรมของไวรัสที่ถอดรหัสได้พบการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่ตรงกับโอมิครอน ในขณะที่ไวรัสโดยรวมยังหน้าตาเหมือนสายพันธุ์ก่อนโอมิครอน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ทีมวิจัยเชื่อว่าสายพันธุ์บรรพบุรุษของ โอมิครอนน่าจะถูกบ่มเพาะในทวีปแอฟริกามาเป็นเวลาพอสมควรก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองจนกลายเป็นโอมิครอนที่ระบาดใหญ่ในปลายปี 2021 ข้อมูลที่การศึกษานี้นำเสนอออกมาเหมือนมาหักล้างแนวคิดที่ว่า โอมิครอนเป็นสายพันธุ์ไวรัสที่ไปบ่มเพาะตัวเองในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นเวลานานๆ ก่อนที่จะระบาดใหญ่เป็นวงกว้าง
แต่หลังจากที่งานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ในสื่อ social media มีดราม่าเกิดขึ้นตามมามากมาย โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลรหัสพันธุกรรมที่ไปเก็บมา ตลอดจนความเป็นไปได้ที่ตัวอย่างมีการปนเปื้อนทำให้ผลที่อ่านมาได้ไม่น่าเชื่อถือ คำวิพากษ์ดังกล่าวส่งผลให้ทีมวิจัยต้องกลับไปดูข้อมูลอีกทีและดูเหมือนจะพบการปนเปื้อนจริงๆ และ ไม่สามารถทำการทดลองซ้ำได้ เพราะตัวอย่างหมดแล้ว ส่งผลให้ทีมวิจัยถอนงานวิจัยดังกล่าวออกจากวารสารในวันนี้
ต้องยอมรับว่าเคสลักษณะนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก โดยเฉพาะกับวารสารที่มี impact สูงระดับ top อย่าง Science เนื่องจากกระบวนการ review โดยผู้เชี่ยวชาญจะเข้มข้นมากๆ เนื่องจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์แล้วเท่ากับสามารถถูกอ่านถูกทบทวนและวิจารณ์โดยผู้อ่านจากทั่วโลก เมื่อมีเสียงสะท้อนกลับมาทีมวิจัยคงต้องฟัง และ การออกมายอมรับในความผิดพลาดที่ไม่ได้เจตนาให้เกิด และ รับผิดชอบโดยการถอนงานวิจัย ถือเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องและควรชื่นชมครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวร้าย! ดร.อนันต์เผยโมเดอร์นาต้องระงับการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
หนาว! ไทยมีสิทธิ์เป็นประเทศที่สองในโลกที่ฝีดาษวานรโผล่นอกแอฟริกา
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'ดร.อนันต์' เตือนสติไวรัสยังเป็นสิ่งน่ากังวล
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัยสาเหตุโลกไม่นิยมใช้ 'โมนูพิราเวียร์' สู้โควิด!
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ