'หมอธีระ' ชี้สถานการณ์โควิดโลกแบ่งเป็น 3 ก๊ก

'นพ.ธีระ' เผยสถานการณ์โควิดโลกยามนี้แบ่งเป็น 3 ก๊กโดยสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน เปิดผลวิจัยเมืองมะกันชี้โอมิครอนแม้รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เก่า แต่หากไม่ฉีดวัคซีนก็มีโอกาสหนักถึงตายได้

21 ธ.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด19 ประจำวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 428,907 คน ตายเพิ่ม 802 คน รวมแล้วติดไป 658,632,418 คน เสียชีวิตรวม 6,674,650 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และฮ่องกง เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.32 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 81.17

...สามก๊กในถ้วยซุปสายพันธุ์...
Gerstung M จากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี สรุปลักษณะการระบาดในปัจจุบันทั่วโลก ยืนยันให้เห็นปรากฏการณ์ "ซุปสายพันธุ์ (variant soup)" ซึ่งถือเป็นระลอกที่มีการระบาดโดยมีหลากหลายสายพันธุ์ของไวรัส แตกต่างจากระลอกก่อนๆ ที่มักมีตัวหลักที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมจากอู่ฮั่น D614G อัลฟา เดลตา BA.1/2 และ BA.5

ขณะนี้ Omicron มีการกลายพันธุ์ไปกว่า 500 สายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่เพิ่งเริ่มระบาดจริงจังในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเท่านั้น ซุปสายพันธุ์ถ้วยนี้ หากวิเคราะห์ดูจะพบว่ามีไวรัสสายพันธุ์ย่อยที่แย่งกันระบาดทั่วโลก โดยมีตัวนำอยู่ประมาณ 3 ก๊กที่ดูจะไม่ค่อยน้อยหน้ากว่ากันนัก ได้แก่ BQ.1.x, XBB.x, และ BA.2.75.x

BQ.1.x ครองฝั่งตะวันตกของโลก
XBB.x ครองฝั่งตะวันออกของโลก
และ BA.2.75.x มีชุกชุมอยู่ในหลากหลายประเทศ ค่อนข้างกระจาย
โดยที่สายพันธุ์ที่ครองการระบาดเดิมอย่าง BA.5 ถูกเบียดลดสัดส่วนลงไปอย่างต่อเนื่อง

...อย่างไรก็ตาม หากดูอัตราการขยายตัวของการระบาด BQ.1.1 คาดว่าน่าจะมีแนวโน้มสูงที่จะทำให้เกิดการระบาดวงกว้างมากขึ้นในฝั่งตะวันออกของโลกได้ในอีกไม่นาน

...อัพเดตความรู้โควิด-19
"Omicron นั้นไม่ได้อ่อนกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม"
หลายคนคงคุ้นเคยกับวาทกรรมว่า Omicron is mild จนทำให้เข้าใจว่าเป็นหวัดธรรมดา หรือกระจอก
แต่รอบปีที่ผ่านมา เราเห็นกันชัดเจนว่าสายพันธุ์นี้ แม้จะทำให้โอกาสป่วยรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา แต่ก็มีคนติดเชื้อจำนวนมาก ป่วยและตายจำนวนมากเช่นกัน เนื่องจากมีสมรรถนะที่แพร่ได้เร็วขึ้นง่ายขึ้นมาก และดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าเดิม

ล่าสุด Robinson ML และทีมงานจากสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการวิจัยประเมินอัตราป่วยรุนแรงและเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 5 แห่งในฝั่งตะวันออกของประเทศ
โดยเปรียบเทียบระหว่างสายพันธุ์ดั้งเดิม เดลตา และ Omicron

สาระสำคัญคือ พบว่าในกลุ่มคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนนั้น แม้ Omicron จะทำให้ป่วยรุนแรงและเสียชีวิตน้อยกว่าเดลตาราว 28% แต่มีอัตราการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตพอๆ กับสายพันธุ์ดั้งเดิม ส่วนคนที่ได้รับวัคซีนแล้ว หากป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล โอกาสป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจะลดลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะสายพันธุ์ใดก็ตาม

...ผลการศึกษานี้จึงช่วยชี้ให้เราเห็นว่า Omicron นั้นแม้จะดูอ่อนกว่าเดลตา แต่ความรุนแรงพอๆ กับสายพันธุ์ดั้งเดิม ไม่กระจอก การฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด จะช่วยลดการป่วยรุนแรง และเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดเสี่ยง Long COVID ได้ด้วยดังที่เคยนำเสนอข้อมูลวิชาการมาให้ทราบมาหลายครั้งแล้ว

...ปัจจุบันไทยยังมีการติดเชื้อแต่ละวันจำนวนมาก ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
Robinson ML et al. Impact of SARS-CoV-2 variants on inpatient clinical outcome. Clinical Infectious Diseases. 19 December 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ

ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”  ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน 

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม