19 พ.ย. 2564 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด-19 วัคซีน บริษัทผู้ผลิตจะไม่ขายโดยตรงให้ภาคเอกชน
โควิดวัคซีนที่ใช้อยู่ การขึ้นทะเบียนจะอนุญาตให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น บริษัทจะไม่ยอมขายให้ภาคเอกชนโดยตรง เพราะการเร่งการผลิต พัฒนา และใช้ในภาวะฉุกเฉิน
การเกิดอาการแทรกซ้อน ทั้งระยะสั้น ระยะยาว บริษัทจะให้ทางรัฐบาลรับผิดชอบได้เลย ทั้งระยะสั้นระยะยาว ถ้าขายให้เอกชน ภาคเอกชนจะรับผิดชอบได้อย่างไร จึงต้องขายให้ภาครัฐ หรือองค์กรที่เป็นตัวแทนของรัฐ ทางรัฐเองจึงต้องมีงบประมาณไว้สำหรับในการเกิดอาการข้างเคียง ให้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอการตรวจสอบถูกผิด อย่างเช่น ขณะนี้จะมีงบประมาณผ่าน สปสช. มาชดเชย
ในส่วนของภาคเอกชน เช่นวัคซีน Moderna ที่ใช้อยู่ ทางภาคเอกชนจะต้องให้องค์การเภสัช เป็นตัวแทนของรัฐ ในการจัดซื้อ และทุกโดสของวัคซีน จึงต้องมีการทำประกัน ในการชดเชย ถ้าเกิดเหตุการณ์แทรกซ้อนเกิดขึ้น
แน่นอนราคาของวัคซีนในภาคเอกชน จึงต้องบวกค่าขนส่ง การเก็บรักษา และค่าประกัน (แต่ละโดสไม่ถูกเลย) เข้ามารวมในราคาวัคซีน
ถึงแม้ว่าจะมีกฎเกณฑ์ดังกล่าว ถึงแม้จะมีเงิน เมื่อของมีน้อย ผู้ขายก็ย่อมถือไพ่เหนือกว่าแน่นอน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง
'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล
ททท.ตราด งัดตัวเลขสวนเอกชน กระแสเกาะกูดฉุดนักท่องเที่ยว
ผอ.ททท.ตราด โต้กระแส MOU 44 ทำยอดนักท่องเที่ยวเกาะกูดหลนวูบ กางตัวเลขนทท. ไม่มีลด ย้ำ รัฐบาลสร้างความมั่นใจผ่านข้อเท็จจริง ขณะที่ “อนุทิน”ลงพื้นที่ตรวจราชการจันทร์นี้
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567