นพ.ธีระย้ำตั้งการ์ดสูงเพราะ WHO เตือนโควิดอยู่ช่วงขาขึ้นอีกระลอก

หมอธีระเผย WHO ออกโรงเตือนแล้วว่าโควิดอยู่ในช่วงขาขึ้น ในขระที่ผลวิจัยของแดนจิงโจ้พบว่าสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนในปัจจุบันดื้อยาและภูมิคุ้มกันมากที่สุด ย้ำให้ตั้งการ์ดสูง

08 ธ.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิดประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 405,877 คน ตายเพิ่ม 810 คน รวมแล้วติดไป 651,304,942 คน เสียชีวิตรวม 6,650,737 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.43 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 79.13

...คำเตือนจากองค์การอนามัยโลก
Dr.Maria Van Kerkhove ซึ่งเป็น COVID-19 Technical Lead ขององค์การอนามัยโลก ได้ออกมาเน้นย้ำเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา ว่าขณะนี้ทั่วโลกเป็นขาขึ้นของการระบาด ทำให้มีคนป่วยเข้าโรงพยาบาลมากขึ้น
แต่ละประเทศจำเป็นต้องหาทางควบคุมการระบาด กระตุ้นเตือนให้ประชาชนป้องกันตัวด้วยวิธีต่างๆ และจัดระบบบริการให้ประชาชนเข้าถึงบริการดูแลรักษาและป้องกันได้อย่างทั่วถึง เพื่อรักษาชีวิต ป้องกันความสูญเสีย และป้องกันปัญหาระยะยาวหลังจากติดเชื้ออย่าง "Long COVID"

...การใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท เลี่ยงการกินดื่มคลุกคลีใกล้ชิดคนอื่น เลี่ยงที่แออัดระบายอากาศไม่ดี หากไม่สบายควรแยกตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 7-10 วันจนกว่าอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจ ATK ซ้ำแล้วได้ผลลบ
สำคัญที่สุดคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

...อัพเดตสายพันธุ์ย่อยของ Omicron
Akerman A และคณะ จากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เผยแพร่ผลการศึกษาใน medRxiv เมื่อวานนี้ 7 ธันวาคม 2565

สาระสำคัญคือ การชี้ให้เห็นว่า สายพันธุ์ย่อยของ Omicron ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบันนั้น ทั้ง BQ.1.1 ที่ระบาดมากในยุโรปและอเมริกา, XBB.1 ที่ระบาดมากในแถบเอเชีย, และ BR.2.1 ที่ขณะนี้พบมากในออสเตรเลียนั้น ทั้งสามตัวล้วนมีสมรรถนะในการแพร่ระบาดสูงกว่าสายพันธุ์ BA.2.75 และถือเป็น 3 สายพันธุ์ที่ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากที่สุด นอกจากนี้ยังดื้อต่อยาแอนติบอดี้ที่ใช้ในการรักษาอีกด้วย

...ผลการศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ไทยมีการติดเชื้อจำนวนมาก และมีรายงานทางการที่ระบุว่าสายพันธุ์หลักที่ระบาดปัจจุบันคือ BA.2.75 ดังนั้นในอนาคตอันใกล้ ย่อมมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการแพร่ระบาดจากสายพันธุ์ต่างๆ ข้างต้น ซึ่งมาจากการเดินทางและท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มีจำนวนมาก การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้นมีความจำเป็น เหนืออื่นใด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ควรปฏิบัติอย่างเป็นกิจวัตร ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด

อ้างอิง
Akerman A et al. Emergence and antibody evasion of BQ and BA.2.75 SARS-CoV-2 sublineages in the face of maturing antibody breadth at the population level. medRxiv. 7 December 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน