'หมอยง' เผยผลวิจัยคาดคนไทยติดโควิดแล้ว 60-70% ชี้การติดเชื้อซ้ำสองมีโอกาส แต่ความรุนแรงจะลดลง แนะหากรับวัคซีนนานเกิน 6 เดือนควรฉีกเข็มกระตุ้น
07 ธ.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 ประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วร้อยละ 60 ถึง 70” ระบุว่า จากการศึกษาของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬา 2 โครงการ โครงการแรกเป็นการศึกษาในเด็กที่อายุ 5-6 ขวบ ในปีที่ผ่านมาโดยมีการตรวจเลือด 2 ครั้งห่างกัน 1 ปี จำนวนประมาณ 190 คน พบว่าในช่วงปีที่แล้ว หรือยุคเดลตา เด็กอายุนี้ใน กทม.ติดเชื้อไปแล้วประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ (2564) แต่เมื่อมาถึงปีนี้ (2565) มาถึงเดือนนี้ พบว่ามีการติดเชื้อไปแล้วเพิ่มสูงขึ้นอยู่ระหว่าง 60 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของเด็กทั้งหมด และในจำนวนนี้ 35% เป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ หรือไม่รู้ว่ามีการติดเชื้อ จากการซักประวัติ ไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อ แต่การตรวจเลือดพบหลักฐานของการติดเชื้อ แสดงให้เห็นว่ามีเด็กจำนวนมากที่เกิดการติดเชื้อไปแล้ว เป็นชนิดที่ไม่มีอาการ และไม่รู้ว่ามีการติดเชื้อไปแล้ว
ในขณะเดียวกันการศึกษาร่วมกับทางจังหวัดชลบุรี ทำการตรวจเลือดตั้งแต่ 6 เดือนจนถึง 80 ปี ขณะนี้ตรวจไปแล้ว ประมาณ 700 คน พบว่ามีการติดเชื้อไปแล้วจากหลักฐานของการตรวจเลือด และประวัติการติดเชื้อ อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 60-70 หลักฐานการตรวจเลือด ถ้าติดเชื้อมานานแล้ว โดยเฉพาะติดเชื้อเกินกว่าหนึ่งปี อาจให้ผลเป็นลบได้ การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นในปีนี้ ในช่วงของการระบาดด้วยสายพันธุ์ โอมิครอน
เมื่อตรวจหาภูมิต้านทาน แอนติบอดี ที่เกิดจากการติดเชื้อหรือจากวัคซีน จะพบว่าประชากรประมาณร้อยละ 95 มีภูมิต้านทานที่ตรวจพบได้ มากบ้างน้อยบ้าง โดยเฉพาะขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าระดับภูมิต้านทานสูงแค่ไหน จึงจะป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคได้ ประชากรส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดได้เคยสัมผัสหรือรู้จักไวรัสโควิด 19 จากการติดเชื้อ หรือวัคซีนมาแล้ว จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ความรุนแรงของโรคลดน้อยลง
การติดเชื้อมาแล้ว หรือได้รับวัคซีน ตรวจวัดภูมิต้านทานได้ ก็สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก เราจึงเห็นผู้ที่ติดเชื้อครั้งที่ 2 เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยหลักการของระบบภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อครั้งที่ 2 น่าจะทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง ทั้งนี้ก็คงขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกายในขณะนั้นด้วย
เมื่อมีการติดเชื้อซ้ำได้ เป็นแล้วเป็นอีกได้ จึงมีเหตุผลเพียงพอสำหรับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนครบ 3 ครั้งแล้ว หรือมากกว่า และฉีดวัคซีนมานานแล้ว หรือเคยติดเชื้อมาแล้ว และเว้นช่วงมานานแล้ว เช่นนานเกิน 6 เดือน ก็สามารถรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อฝึกให้ระบบภูมิต้านทาน รับรู้ในเรื่องของการป้องกันลดความรุนแรงของโรค
วัคซีนแต่ละชนิด ประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการให้ และการป้องกันลดความรุนแรง จะได้ดีหลังจากฉีดในเดือนแรกๆ และภูมิจะลดลงตามกาลเวลา
การให้เข็มกระตุ้น ควรเว้นระยะห่างจากครั้งสุดท้าย โดยหลักการแล้วยิ่งห่างยิ่งดี หรือรอให้ภูมิต้านทานลดลงก่อนแล้วค่อยกระตุ้น แต่ขณะเดียวกันถ้าเว้นนานเกินไป ก็จะเกิดการติดเชื้อเสียก่อน ระยะเวลาที่ผู้ได้รับครบ 3 หรือ 4 เข็มแล้ว หรือติดเชื้อ มารับการกระตุ้น ควรอยู่ที่ 6 เดือนหรือมากกว่า จะกระตุ้นระดับภูมิต้านทานได้ในระดับที่สูง ในกลุ่มเสี่ยงจะกระตุ้นเร็วกว่านี้สัก 1-2 เดือนก็มีสามารทำได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง
'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก