4 ธ.ค. 2565 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง โควิด 19 ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นหรือไม่ หรือจะรอวัคซีนตัวใหม่ โดยระบุว่า การระบาดของ covid 19 เป็นไปตามฤดูกาล ในรอบของปี ในระลอกนี้ การระบาดจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา และจะขึ้นสูงสุดหลังปีใหม่หรือเดือนมกราคม และจะไปเริ่มลดลงตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนเหลือน้อยมากในเดือนมีนาคม และจะไปขึ้นการระบาดรอบใหม่ของปีในฤดูฝนหรือเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน เป็นไปตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจ
ขณะนี้การระบาดอยู่ในขาขึ้น ตามทิศทางของฤดูกาล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงขึ้น ในขณะนี้ แทนที่จะรอไปถึงเดือน มกราคม หรือกุมภาพันธ์ ซึ่งอยู่ขาลงวัคซีนในบ้านเรา ถึงแม้จะเป็นสายพันธุ์เดิม การกระตุ้นในระดับเซลล์ เพื่อลดความรุนแรงของโรค สามารถทำได้ดีมาก วัคซีนตามสายพันธุ์ ถึงแม้จะมีการเพิ่มขึ้นมา จะป้องกันการติดเชื้อ เพราะเป็นแอนติบอดี้ หรือ B cell และเมื่อภูมิขึ้นมาแล้วก็ลดลง และเมื่อลดลงถึงระดับหนึ่งไม่ว่าจะเป็นวัคซีนอะไร ก็เกิดการติดเชื้อได้ จึงไม่มีวัคซีนเทพในการป้องกันการติดเชื้อ
การลดความรุนแรงของโรคจึงขึ้นอยู่กับจำนวนเข็มที่ฉีด มากกว่าชนิดของวัคซีนที่ฉีด แน่นอนการให้วัคซีนแต่ละครั้งควรมีระยะเวลาห่างกัน โดยทั่วไปในเข็มกระตุ้นยิ่งห่างยิ่งดี แต่ข้อเสียก็คือว่าถ้าห่างเกินไป จะเกิดการติดเชื้อเสียก่อน
ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนได้อย่างน้อย 3 เข็ม และถ้าจะฉีดเข็มที่ 4 ก็ควรห่างไป 4-6 เดือน และถ้าได้ 4 เข็มแล้ว มานานมาก เช่นเกิน 6 เดือนไปแล้ว จะให้เข็มที่ 5 ก็ไม่ว่ากัน เพราะเมื่อนานแล้วภูมิคุ้มกันก็จะลดลงไปเป็นจำนวนมาก การกระตุ้นก็เป็นการเพิ่มภูมิต้านทานทั้งแอนติบอดีและระดับเซลล์
เมื่อ covid-19 อยู่ขาขึ้น เราจึงควรจะรีบให้วัคซีน แทนที่จะไปรอวัคซีนตัวใหม่ หรือวัคซีน 2 สายพันธุ์ ที่กว่าจะเข้ามาก็อยู่ในขาลงของ covid 19 เราไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีน การกลายพันธุ์ของไวรัส จะกลายพันธุ์ในส่วนของหนามแหลม ที่เป็นส่วนในการป้องกันการติดเชื้อ และ ตลอดปีที่ผ่านมา สายพันธุ์ที่ระบาดในบ้านเราก็ยังเป็น โอมิครอน แต่จะแตกต่างในกลุ่มย่อย เป็น BA.1, BA.2, BA.2.75, BA.4, BA.5 ประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ (จากการศึกษาด้วยการเจาะเลือดที่ชลบุรี) ส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อร่วมกับภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีน ถือเป็นภูมิคุ้มกันแบบลูกผสมที่ดีมาก และใกล้เคียงกับสายพันธุ์ที่สุด
ส่วนการกลายพันธุ์ที่ออกไปมากอย่างที่มีข่าว เดลตาครอน ไม่ได้มีปัญหาในประเทศไทย การระบาดที่เกิดขึ้นยังเป็นโอมิครอน อยู่ จึงยังไม่ได้หลีกหนีภูมิต้านทานของประชากรส่วนใหญ่ไปมาก ไม่ได้น่าวิตกแต่อย่างใด
ดังนั้นขณะนี้อยู่ในขาขึ้นตามฤดูกาล ควรได้รับวัคซีนในการป้องกันที่เหมาะสม ที่มีอยู่ในบ้านเรา และจะไม่รอจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ หรือรอวัคซีนสายพันธุ์ใหม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ไขข้อข้องใจโรคไอกรนที่แพร่ระบาดหนักช่วงนี้
ศ.ดร.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' ชวนฉีดวัคซีน ปีนี้ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้หวัดใหญ่ปีนี้ระบาดมาก
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ อาการติดเชื้อโรค 'ฝีดาษวานร'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX ลักษณะอาการของโรค
'หมอยง' เตือนรับมือ 'ฝีดาษลิง' สายพันธุ์ใหม่ รุนแรงติดง่าย หวั่นระบาดใหญ่ทั่วโลก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง