'หมอยง' ไขข้อเท็จจริงเรื่องเดลตาครอน อธิบายชัดต้องเกิดจากการผสมระหว่างเดลตากับโอมิครอน แต่ตอนนี้แทบไม่มีเดลตาแล้ว จึงไม่ต้องไม่สนใจเพราะตอนนี้มีแต่โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย
01 ธ.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ไขข้อเท็จจริง เดลตาครอน” ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัส เกิดขึ้นได้จากการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อย ด้วยการเปลี่ยนพันธุกรรม และทำให้สร้างกรดอะมิโนเปลี่ยนแปลงไป อย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์จากแอลฟา เบตา เดลตา โอมิครอน เปลี่ยนแปลงบนยีนของหนามแหลม spike ทำให้ระบบภูมิต้านทานเปลี่ยนแปลง โอมิครอนยังเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยไปเป็นลูกหลาน BA.1 BA.2…BA.5.. เปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย ก็ยังเป็นโอมิครอนอยู่ สายพันธุ์โอมิครอน อยู่นานมากอยู่มา 1 ปีแล้ว การแยกสายพันธุ์ ดังแสดงในรูป ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มของสายพันธุ์อู่ฮั่นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อความอยู่รอดของไวรัส ที่ผ่านมาตัวที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว ความรุนแรงน้อย ก็จะอยู่รอด และเกิดสายพันธุ์ใหม่ เรื่อยมา อัตราการเสียชีวิตก็ลดลงมาโดยตลอด
การเปลี่ยนแปลงชนิดที่ 2 เป็นการแลกชิ้นส่วนต่างสายพันธุ์ หรือผสมส่วน ที่เรียกว่า recombination เราพบได้เห็นในไวรัสหลายชนิดเช่น ไวรัสที่ทําให้เกิดโรคมือเท้าปาก ไวรัสท้องเสีย norovirus เกิดได้จากการที่มีไวรัส 2 สายพันธุ์ติดเชื้อในผู้ป่วยคนคนเดียวกัน แล้วไปแลกชิ้นส่วนกัน เกิดเป็นลูกผสม หัวเป็น สายพันธุ์หนึ่ง หางเป็นสายพันธุ์หนึ่ง
ดังนั้นเดลตาครอน จะเกิดได้ จะต้องมีผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ร่วมกับโอมิครอน จึงจะเกิดลูกผสมเดลตาครอน แต่ขณะนี้ แทบจะไม่พบสายพันธุ์เดลตาจะเกิดลูกผสมเดลตาครอนได้อย่างไร เมื่อไม่มีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ คิดแบบง่ายๆ
มีการพูดถึงเดลตาครอน จะเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กๆของสายพันธุ์เดลตาที่มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนคล้ายคลึงกับสายพันธุ์เดลตา ในสายพันธุ์ โอมิครอน เชื่อว่าไม่ได้เป็นการแลกชิ้นส่วนกัน และตั้งชื่อเป็น XBC และทางองค์การอนามัยโลกก็ไม่ได้มีการกำหนดชื่อใหม่หรือสายพันธุ์ใหม่ว่าเป็นเดลตาครอน หรือให้ความสำคัญแต่อย่างใด ตอนนี้ก็ยังมีแต่แอลฟา เดลตา โอมิครอน และมีสายพันธุ์ย่อยการที่เราคุ้นหูกัน
ใครจะเรียกเดลตาครอน ขณะนี้ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไร การรายงานเข้าไปในธนาคารรหัสพันธุกรรม GISAID สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้เป็นสายพันธุ์เด่นอะไรเลย และไม่มีความสำคัญในขณะนี้ไม่ว่าในอัตราการแพร่กระจายที่พบ หรือความรุนแรงที่พบ
สายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลกขณะนี้ เป็นสายพันธุ์ย่อย โอมิครอน BA.2.75 และ BQ.1.1 บ้านเราขณะนี้เป็น BA.2.75 และก็คงจะตามมาด้วย BQ.1.1 ในอนาคตอันใกล้ ดังแสดงในรูปของ GISAID
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' บอกอย่าตื่นตะหนกโนโรไวรัส
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา