'หมอธีระ' ยกผลวิจัยสวิตเซอร์แลนด์ย้ำ Long COVID เกิดขึ้นในเด็กด้วย เตือนอย่าลืมป้องกันตัวเอง ชี้โควิดระลอกนี้ไม่เล็ก
30 พ.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 421,311 คน ตายเพิ่ม 825 คน รวมแล้วติดไป 646,868,327 คน เสียชีวิตรวม 6,638,457 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ บราซิล และไต้หวัน
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 82.83 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 63.15
...อัพเดต Long COVID ในเด็ก
Dumont R และคณะจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เผยแพร่ผลการวิจัยในวารสาร Nature Communications เมื่อวานนี้ 29 พฤศจิกายน 2565 โดยทำการสำรวจปัญหาอาการผิดปกติของ Long COVID และทำการตรวจเลือดหาแอนติบอดี้ที่บ่งถึงการที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 มาก่อน ในประชากรวัยเด็กอายุ 6 เดือนถึง 17 ปี จำนวน 1,034 คน จาก 612 ครอบครัว ตั้งแต่ธันวาคม 2564-กุมภาพันธ์ 2565
สาระสำคัญที่พบคือ โดยรวมแล้วกลุ่มเด็กที่ตรวจพบแอนติบอดี้นั้นจะมีความชุกของภาวะ Long COVID มากกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่พบแอนติบอดี้ ถึง 1.8 เท่า และเกิดได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทั้งนี้จากการวิเคราะห์เชิงลึก พบว่า กลุ่มเด็กโตช่วงอายุ 12-17 ปีที่ตรวจพบแอนติบอดี้นั้นจะมีความชุกของปัญหา Long COVID สูงกว่ากลุ่มที่ไม่พบแอนติบอดี้อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความชุกต่างกันถึง 8.3% (ช่วงความเชื่อมั่น 3.5%-13.5%)
ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้จากประเทศอื่นๆ ว่า ภาวะ Long COVID เกิดขึ้นในเด็กด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กโต/วัยรุ่น พ่อแม่หรือผู้ปกครอง รวมถึงคุณครู จึงควรช่วยกันดูแล ป้องกัน และลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อแพร่เชื้อในครอบครัว โรงเรียน และสถานศึกษาต่างๆ หากเด็กติดเชื้อมาแล้ว หลังจากที่หายป่วยระยะแรก ก็ควรหมั่นประเมินสุขภาพของเด็ก ถ้ามีอาการผิดปกติ ก็ควรพาไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และให้การดูแลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
...สถานการณ์ของไทยเรานั้น มองรอบตัวย่อมทราบกันดีว่าเกิดการแพร่ระบาดกันมาก การใช้ชีวิตประจำวัน ทำงาน เรียน จ่ายตลาด ออกกำลังกาย หรือท่องเที่ยวตามที่ต่างๆ นั้น ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท ที่ใดแออัด เห็นคนไม่ป้องกันตัวมาก ระบายอากาศไม่ดี ก็ควรหลีกเลี่ยง ในที่ทำงาน หากแชร์ห้องแชร์สถานที่กัน ควรใส่หน้ากากเสมอ ไม่กินดื่มร่วมกัน
สถานพยาบาล ต้องระวังการแพร่ทั้งในหมู่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในวอร์ดต่างๆ การ ตรวจคัดกรองโรคนั้นมีความจำเป็น การไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นมีความสำคัญมาก เหนืออื่นใด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
...ไม่เล็กหรอกครับ เวฟนี้น่ะ... ไม่ควรลดทอน harm and risk perception เพราะจะส่งผลโดยตรงต่อความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรมป้องกันตัวของประชาชนโดยรวม
อ้างอิง
Dumont R et al. A population-based serological study of post-COVID syndrome prevalence and risk factors in children and adolescents. Nature Communications. 29 November 2022.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'หมอยง' บอกไม่ต้องตื่นตะหนกไอกรนคนไทย 50%มีภูมิต้านทาน!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
อ.ไชยันต์ยกตัวอย่างการอภัยโทษในต่างประเทศที่น่าสนใจ!
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์