'หมอธีระ' ชง 4 ทัศนคติที่ควรปฏิบัติในยุคโควิด19ยังระบาด

'หมอธีระ' สรุป 4 ทัศนคติดที่ควรปฏิบัติในยุคโควิด19 ย้ำอย่าประมาทตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ชี้ยังเป็นโรคระบาดและไม่กระจอก ไม่ใช่หวัดธรรมดา และหวัดตามฤดูกาล เพราะยังป่วยและตายได้

24 พ.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 336,542 คน ตายเพิ่ม 672 คน รวมแล้วติดไป 644,210,727 คน เสียชีวิตรวม 6,629,911 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.34 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 76.04

...ทัศนคติในการใช้ชีวิตให้ปลอดภัยสำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน

1. "ใส่ใจสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว" ไม่ประมาทระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน ทำงาน เรียน ท่องเที่ยว จ่ายตลาด เดินทางขนส่งสาธารณะ คอยสังเกตรอบข้าง รักษาระยะห่างคนที่มีอาการไม่สบาย/ไอ/จาม/พูดคุยตะโกนมากเสียงดัง เลือกกินดื่มในร้านอาหารที่คนไม่แออัด ระบายอากาศดี เลี่ยงสถานที่อโคจร ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบ ที่สำคัญมากคือการใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ สำหรับคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ควรคอยดูแลสุขภาพของตนเอง และไปตรวจสุขภาพเป็นระยะ เพื่อประเมินความเสี่ยงของภาวะผิดปกติ หรือโรคเรื้อรังต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อโรคโควิด-19

2. "ตระหนักเสมอว่า โควิด-19 ยังเป็นโรคระบาดและเป็นภัยคุกคามทั่วโลก ไม่กระจอก ไม่ใช่หวัดธรรมดา และไม่ใช่หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ตัวเลขติด-ป่วย-ตาย-Long COVID เป็นหลักฐานยืนยันชัดเจน" การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด โควิดเป็นโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยความตั้งใจและพฤติกรรมป้องกันตัวของเรา เวลาเกิดวิกฤติต่อชีวิตตัวเราหรือสมาชิกในครอบครัว คนที่จะเผชิญหน้ากับวิกฤตินั้นย่อมไม่ใช่ใครอื่น บทเรียนอดีตรอบสองปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ระลอกสองเป็นต้นมานั้นเป็นตัวพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ดังนั้นจึงไม่ควรเชื่อคำลวงด้วยกิเลส แต่ควรใช้สติ และปัญญา วางแผนการใช้ชีวิตให้ดี

3. "ใครไม่ป้องกันตัว แต่ฉันป้องกันตัวเสมอ ความเสี่ยงย่อมน้อยกว่า นี่คือสัจธรรมที่ไม่สามารถปฏิเสธได้"ไม่ว่าจะคนในพื้นที่ นักท่องเที่ยวในประเทศ หรือนักท่องเที่ยวต่างชาติจะไม่ป้องกันตัว หากเราต้องพบปะติดต่อ บริการ หรือทำมาค้าขายด้วย แต่เรายังสามารถจัดการความเสี่ยงของเราได้เสมอ ทั้งการใส่หน้ากากอย่างถูกต้องรัดกุม จัดที่ทางที่ระบายอากาศ ติดตั้งพัดลมพัดออกจากตัวเรา เครื่องฟอกอากาศ กำหนดระยะเวลาในการพบปะติดต่อ บริการ หรือทำมาค้าขายกับแต่ละคนนั้นให้สั้นลง หรือแม้แต่การกำหนดระเบียบหรือเงื่อนไขให้คนที่มานั้นปฏิบัติตาม หากทำได้

4. "ใช้ความรู้ที่ถูกต้อง เป็นแสงส่องทางในการเลือกประพฤติปฏิบัติตัว" ...หากสัมผัสความเสี่ยงมา...ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หลังจากสัมผัสความเสี่ยงมาเป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ตรวจ ATK หากได้ผลลบครั้งแรก ให้ตรวจซ้ำวันเว้นวัน รวม 3 ครั้ง (วันที่ 1, 3, และ 5) แต่หากตรวจพบว่าเป็นผลบวก มักแปลได้ว่าติดเชื้อ (โอกาสเกิดผลบวกปลอมน้อย) และควรเข้าสู่กระบวนการตรวจรักษาตามมาตรฐาน แยกตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 7-10 วัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจ ATK แล้วได้ผลลบ จึงจะกลับมาใช้ชีวิตประจำวันโดยต้องป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากเสมอ ไม่แชร์ของกินของใช้ ไม่คลุกคลีใกล้ชิด และไม่กินดื่มกับผู้อื่น ควรเลี่ยงการใช้ยา สมุนไพร อาหารเสริม และอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานการรักษาโควิดระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าพยาธิ ยาจิตเวช พืชผักสมุนไพรต่างๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ หรือได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผลในการรักษาโรคโควิด-19

...หากมีอาการไม่สบาย สงสัยว่าจะเป็นโควิด-19...ควรตรวจด้วย ATK หากได้ผลบวก ก็แปลว่าติดเชื้อ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น เพื่อให้สามารถได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง และได้รับยาต้านไวรัสเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ตามที่กำหนด และตามมาตรฐานสากล แต่หากมีอาการป่วย แต่ตรวจ ATK ครั้งแรกได้ผลลบ ให้ตรวจซ้ำทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน เพราะการตรวจ ATK อาจให้ผลลบปลอมได้พอสมควร (ติดเชื้อแต่ตรวจได้ผลลบ) ระหว่างที่มีอาการผิดปกติ แต่ตรวจแล้วไม่ติดเชื้อโควิดนั้น นอกจากกินยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ ก็ควรปฏิบัติป้องกันตัวเคร่งครัด แยกจากคนอื่น ใส่หน้ากากเสมอ แม้ยามที่อยู่ในบ้านที่อยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวด้วย ...ใช้ชีวิต ประคับประคอง ช่วยเหลือดูแล และปลอดภัยไปด้วยกัน...

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม

ดิจิทัล วอร์รูม เตือนภัยฝ่าน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม

ภาคเหนือเผชิญอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย น้ำท่วมตัวเมือง มีน้ำป่าไหลทะลักลงตามแม่น้ำสาย ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด พื้นที่เกษตรที่ติดลำน้ำสายได้รับความเสียหายอย่างหนัก ปัจจุบันแม้น้ำแห้งแล้วแต่ประชาชนยังจมโคลนจมฝุ่นต้องการการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากปัญหาที่น้ำท่วมได้ทิ้งไว้ตามบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่างๆ  

'ไชยันต์' ตั้งปุจฉา 'ไม่มีสมบูรณาญาสิทธิราชก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง'

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่มีสม