'ดร.อนันต์' ชี้ใช้วัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มกระตุ้น ช่วยป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลตาได้ดีมาก

แฟ้มภาพ ขวดวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค (Getty Images)

16 พ.ย.64 – ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เผยผลการศึกษาในอังกฤษ พบการใช้วัคซีนไฟเซอร์ เป็นเข็มกระตุ้น ป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลตาได้ดีมาก โดยระบุว่า

ข้อมูลจากการศึกษาใน UK บอกว่า การใช้ PZ เป็นเข็มกระตุ้นในกลุ่มประชากรที่ได้รับ PZ มาแล้ว 2 เข็ม หรือ AZ 2 เข็ม ประมาณ 5 เดือนหลังเข็ม 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับป้องกันการติดเชื้อเดลต้าแบบมีอาการได้ดีมากทั้งคู่

กรณีของ PZ ประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลงจาก 82% หลังเข็มสอง เหลือ 63% ที่ 5 เดือน ในขณะที่ AZ จาก 61% เหลือ 44% เมื่อได้ PZ เป็นเข็มกระตุ้นแล้วประสิทธิภาพของทั้งคู่ขึ้นสูงไปที่ 93-94% ที่ 2 สัปดาห์หลังฉีด

มองอีกมุมนึงก็น่าสนใจคือ ความเสี่ยงจากการติดเชื้อแบบมีอาการ (ยกตัวอย่าง AZ ) ถูกลดจาก 56% เหลือแค่ 7% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก จริงๆเมื่อเทียบความเสี่ยงหลังกระตุ้นกับเมื่อตอนได้เข็มสองใหม่ตอนภูมิยังไม่ตก ก็เห็นว่าความเสี่ยงก็ลดลงสูงเช่นกัน AZ จาก 39% เหลือ 7% และ PZ จาก 18% เหลือ 6%

ใครที่ได้ PZ 2 เข็มมา หรือ ไขว้มา อาจไม่ต้องกังวลเรื่องเข็มกระตุ้นนะครับ mRNA น่าจะใช้กระตุ้นภูมิจากตัวเองได้ดีอยู่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ควรฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นอีกมั้ย? 'ศูนย์จีโนมฯ' มีคำตอบ

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เราควรยุติการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันโควิด-19 กันแล้วหรือไม่

'หมอยง' สรุป 2 ปี การให้วัคซีนโควิดของไทย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'หมอยง' แจงแนวทางฉีดวัคซีนโควิด 'เข็มกระตุ้น' ต่อจากนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 ปัญหาที่ถูกถามบ่อย เรื่องการฉีดวัคซิน โควิด 19