'นพ.ธีระ' เตือนอย่ามุ่งเศรษฐกิจจนการ์ดป้องโควิดตก!

หมอธีระเตือนสติอย่าหน้ามืดตามัวเหยียบคันเร่งเศรษฐกิจจนลืมเรื่องสุขภาพประชาชน แนะให้ดูตัวอย่างต่างประเทศเร่งเปิดเสรีโดยไม่ป้องกัน ยอดติดเชื้อยอดดับทำสถิติใหม่

16 พ.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 302,106 คน ตายเพิ่ม 612 คน รวมแล้วติดไป 640,885,762 คน เสียชีวิตรวม 6,617,258 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.43 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 76.79

...When health is at risk, everything is at risk...
การประคับประคองระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจโดยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพควบคู่ไปด้วย แต่หากหน้ามืดตามัว เหยียบคันเร่งเศรษฐกิจ โดยหลงไปกับกิเลสภาพลวง ทั้งๆ ที่การระบาดยังมากและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่กระตุ้นเตือนให้คนรู้เท่าทันกับสถานการณ์ การป้องกันตัวของประชาชนไม่เข้มแข็งพอ ก็จะเกิดปัญหาระบาดปะทุหนักขึ้นตามมาได้

บทเรียนจากประเทศต่างๆ ที่เสรีการใช้ชีวิต โดยไม่ได้ป้องกันตัว ก็ชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างระลอกแล้วระลอกเล่า เกิดติด ป่วย เสียชีวิต และ Long COVID สะสมมากขึ้น และจะสะท้อนกลับมาในรูปแบบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพระยะยาวจากโรคเรื้อรัง และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นกับประชากรในภาพรวมของประเทศ

ประเทศที่เพิ่งเปิดเสรีท่องเที่ยว ก็ล้วนมีจำนวนติดเชื้อสูงขึ้น หลายเมืองสูงจนทำลายสถิติติดเชื้อรายวันเดิมที่เคยมีมา ดังนั้นไทยเราก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น จำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเช่นกัน การป้องกันตัวระดับบุคคลจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ลดละเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง สถานที่เสี่ยง แออัด ระบายอากาศไม่ดี ไม่สบาย ควรแยกตัวจากคนอื่น ตรวจรักษาให้หายดีก่อนไปเรียนและทำงาน

ใช้ชีวิตอย่างมีสติ คอยสังเกตคนรอบข้าง หากเค้าไม่สบาย ก็ควรระวังเรื่องการไปคลุกคลีพบปะใกล้ชิด ใช้เวลาสั้นๆ นายจ้างควรดูแลลูกจ้างและลูกค้าให้ดี ใส่ใจ ถามไถ่สุขภาพ และจัดการดูแล ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นจะช่วยลดความเสี่ยงป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID

สำคัญมากคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องระหว่างที่ใช้ชีวิตประจำวัน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
ไม่ติดเชื้อ...ย่อมดีที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด