14 พ.ย.2565-ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อาการเหนื่อยล้า เพลียง่าย ภายหลังหายจากการ “ติดโควิด” ทั้งๆที่ขณะที่เป็น โควิด อาการไม่จำเป็นต้องรุนแรงเสมอไป
กลไก สาเหตุ ที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าได้ มีได้ต่างๆ ดังนี้ 1.อาการเกิดขึ้นได้แม้ว่าเอกซเรย์ปอดและการทำงานของปอดรวมทั้งหัวใจ ยังปกติ 2.เกิดจากได้จากกลไกเดียวหรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น การนอนผิดปกติ นอนไม่หลับ หรือ หลับๆ ตื่นๆ หรือดูเหมือนหลับนาน 8-9 ชม. แท้จริงหลับได้ไม่ลึก (deep sleep) ซึ่งปกติมนุษย์ควรจะนอนหลับลึกได้คืนละ 75 นาที ไม่เช่นนั้นกลางวันจะเพลีย ล้าตลอด
เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลดลง จากรายงานการศึกษาพบว่าจะมีเลือดข้นกว่าธรรมดาและสันนิษฐานว่าเส้นเลือดฝอยเล็กๆ ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้ออาจจะนำเลือดไปได้ไม่เพียงพอ รวมทั้งทำให้เห็นว่ามีกล้ามเนื้อลีบลงทั่วไป
ในร่างกายยังมีการอักเสบอยู่ และการอักเสบดังกล่าวยังไปกระทบสมองจุดชนวนให้มีการอักเสบครั้งที่สองและทำให้อายุของเซลล์สมองสั้นลง และมีการสะสมโปรตีนผิดปกติในสมองมากขึ้น และมีมากได้จนหลงลืม เลื่อนลอย อารมณ์เปลี่ยน
เป็นความแปรปรวนในกลุ่มเซลล์สมองจำเพาะ จากการอักเสบข้างตัน และยังคงดำเนินต่อเนื่อง และมีผลในการหลั่งฮอร์โมนและการควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติแปรปรวนจากกลุ่มเซลล์ในก้านสมอง
สามารถแก้ได้ อย่าท้อถอย ตากแดด เดินหมื่นก้าว อบร้อน เข้าใกล้มังสวิรัติ หลีกเลี่ยงมลพิษ สารเคมี คุมโรคประจำตัวให้ดี
ช่วยได้จริงๆ ไม่เสียสตางค์ นะครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้