หนาว! หมอยงชี้โควิดกลับมาแรงจนหลังปีใหม่

หมอยงเผย โควิดมีแนวโน้มสูงขึ้นและจะพุ่งสูงสุดหลังปีใหม่ เพราะเป็นโรคประจำฤดูกาลแล้ว เตือน มิ.ย.ปีหน้าระบาดใหญ่จะรับมืออย่างไรในเรื่องวัคซีน

09 พ.ย.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โรคโควิด 19 เข้าสู่โรคประจำฤดูกาล มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น” ระบุว่า ดังที่ได้เคยกล่าวไว้ โรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล จะพบมีการระบาดอย่างมากในฤดูฝน ในช่วงนักเรียนเปิดเทอมแรก และจะลดลงในช่วงปิดเทอม เดือนตุลาคม หลังจากนั้นเมื่อนักเรียนเปิดเทอม และเข้าสู่ฤดูหนาว จะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไปและจะอยู่ในจุดสูงสุดในเดือนมกราคม แต่จะพบความชุกน้อยกว่าในช่วงฤดูฝน และจะค่อยๆสงบลง ในเดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่พบน้อยที่สุด และจะไปเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหนึ่งของโรคทางเดินหายใจ ในเดือนมิถุนายน เป็นวงจรตามฤดูกาลของประเทศไทย

เช่นเดียวกันกับโรคโควิด 19 นับจากวันนี้เป็นต้นไป มีแนวโน้มจะพบเพิ่มสูงขึ้น และจะถึงจุดสูงสุดหลังปีใหม่ ตามฤดูกาล

ในประเทศซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ จะสูงสุดในช่วงฤดูหนาว ของซีกโลกนั้น ดังนั้น โรคนี้กำลังจะค่อยๆสูงขึ้นในยุโรปและอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง เพราะกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาว แต่ประเทศไทยมีฤดูหนาวที่สั้นมาก และไม่ได้หนาวจริง มีแต่ร้อน ร้อนมาก ร้อนน้อย จึงพบโรคทางเดินหายใจได้เกือบตลอดปี แต่จะพบมากในฤดูฝน และเป็นช่วงที่เด็กเปิดเทอมแรกของปี

การเตรียมตัวตั้งรับ โรคโควิด 19 ระบาดรอบใหม่ จะต้องเตรียมตัวได้แล้วเราจะเห็นผู้ป่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ป่วยที่จะต้องเข้านอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็จะไม่มากเท่าในช่วงระบาดสูงสุดที่ผ่านมา

ปัญหามีอยู่ว่า สำหรับปีหน้า ที่จะมีการระบาดอย่างมากในเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ในปีต่อไปเราจะเตรียมวัคซีนอย่างไร ต้องเตรียมจำนวนมากเท่าไหร่ หรือจัดเตรียมกระตุ้นแบบไข้หวัดใหญ่ คือให้เฉพาะกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยงที่เป็นแล้ว จะรุนแรง

องค์ความรู้งานวิจัยเท่านั้น ที่จะมาแก้ไขปัญหา ให้มีการใช้ทรัพยากร และงบประมาณอย่างเหมาะสม เพราะข้อมูลต่างๆของการเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล เป็นข้อมูลใหม่ ที่จะต้องแสวงหาความรู้จากการวิจัยเท่านั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง

'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้