หมอจุฬาฯ เตือนคนไทยหลังเจอคนไข้ถามโควิดวางใจได้แล้วหรือ!

หมอธีระดึงสติคนไทย แนะยังต้องตั้งการ์ดสูงป้องกันตนเอง หลังเจอคนไข้ถามตอนนี้สถานการณ์โควิดวางใจได้แล้วหรือ

09 พ.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด19 ประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 256,121 คน ตายเพิ่ม 486 คน รวมแล้วติดไป 638,289,692 คน เสียชีวิตรวม 6,607,583 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.46 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 82.51

...ตอนนี้สถานการณ์โควิดวางใจได้จริงหรือ?
หลังตรวจคนไข้ท่านหนึ่งเสร็จเมื่อวานนี้ ได้รับคำถามว่า "ตกลงตอนนี้โควิดดีขึ้นจริงหรือคะ? ทำไมช่วงนี้คนรอบตัวติดกันเยอะ แม้แต่คนที่ไม่เคยติดมาตลอดทุกซีซั่น ก็ยังมาพลาดท่าติดตอนนี้" ได้ตอบคำถามไปโดยมีสาระสำคัญดังนี้ สถานการณ์ระบาดยังมีการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง แม้แต่ที่ทำงาน/สถานพยาบาล/มหาลัย ก็ยังมีติดอยู่ทุกวัน ทางการรายงานสถานการณ์แค่รายสัปดาห์ และเป็นเพียงจำนวนตัวเลขผู้ป่วยที่ต้องมานอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ทำให้คนทั่วไปที่ไม่เข้าใจรายละเอียดจะรู้สึกว่าน้อย ทั้งๆ ที่ความจริง การติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันมีจำนวนมากกว่านั้นมาก คาดประมาณว่า ตอนนี้แต่ละวันอาจติดเชื้อใหม่ราว 13,000 คน ดังนั้นจึงควรรู้เท่าทันสถานการณ์ ใช้ชีวิตไม่ประมาท และป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก และเป็นปราการด่านสุดท้ายที่เราทุกคนจะทำได้ด้วยตนเอง

...การแยกตัวจากผู้อื่นเมื่อติดเชื้อ
ดังที่เคยได้นำเสนอข้อมูลทางการแพทย์ที่พิสูจน์แล้วจากทั้ง UK และ US ว่า หากติดเชื้อ การแยกตัวจากคนใกล้ชิดและคนอื่นนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง และควรแยกตัวให้นานเพียงพอ หากแยกตัว 5 วัน จะยังมีโอกาสที่จะมีเชื้อและแพร่ให้คนอื่นได้สูงถึง 50-67% ในขณะที่ 7 วัน มีโอกาสราว 25-33% และ 10 วัน จะมีโอกาสราว 10%
แต่นาน 14 วันจะปลอดภัย ในทางปฏิบัติแล้ว แยกตัวสองสัปดาห์คงลำบาก จึงแนะนำให้แยกตัว 7-10 วัน โดยหลังจากอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจ ATK ได้ผลลบ ถ้าจำเป็นก็กลับออกมาใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยต้องป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากเสมอ หากต้องบริการหรือคลุกคลีคนจำนวนมาก ควรใส่ N95 หรือเทียบเท่า ก็จะลดความเสี่ยงลงไปได้มาก แต่หากเป็นนักเรียนนิสิตนักศึกษา ทางโรงเรียนและมหาลัยควรให้น้องๆ เรียนทางออนไลน์ จะดีกว่ามาออนไซต์ จนกว่าจะเป็นระยะปลอดภัย จะได้ไม่แพร่กันเป็นกลุ่มก้อนใหญ่
ที่ห่วงนั้นไม่ใช่แค่ตอนป่วยระยะแรก แต่ห่วงเรื่อง Long COVID ด้วยครับ

...ผลกระทบจาก Long COVID ต่อแรงงานในระบบ
ข้อมูลจากสหรัฐอเมริกา ลงใน Wall Street Journal เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ระบุถึงผลการวิเคราะห์คาดประมาณจากทีมเศรษฐศาสตร์จาก Stanford และ MIT ว่า ภาวะเจ็บป่วยระยะยาวจาก Long COVID นั้นทำให้แรงงานในระบบหายไปถึง 500,000 คนในอเมริกา ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และปัญหาด้านภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพระยะยาว

เรื่อง Long COVID จึงตอกย้ำให้ทุกประเทศตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรค ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน

...การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องระหว่างใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก และการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบ ก็จะช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID ได้ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม

ดิจิทัล วอร์รูม เตือนภัยฝ่าน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม

ภาคเหนือเผชิญอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย น้ำท่วมตัวเมือง มีน้ำป่าไหลทะลักลงตามแม่น้ำสาย ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด พื้นที่เกษตรที่ติดลำน้ำสายได้รับความเสียหายอย่างหนัก ปัจจุบันแม้น้ำแห้งแล้วแต่ประชาชนยังจมโคลนจมฝุ่นต้องการการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากปัญหาที่น้ำท่วมได้ทิ้งไว้ตามบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่างๆ  

'ไชยันต์' ตั้งปุจฉา 'ไม่มีสมบูรณาญาสิทธิราชก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง'

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่มีสม