15 พ.ย. 2564 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทะลุ 254 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 339,883 คน ตายเพิ่ม 4,395 คน รวมแล้วติดไปรวม 254,008,044 คน เสียชีวิตรวม 5,114,940 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ รัสเซีย สหราชอาณาจักร เยอรมัน ตุรกี และอเมริกา จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 96.06 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 94.94
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นมากถึง 66.11% ของทั้งโลก พอๆ กับจำนวนเสียชีวิตเพิ่มที่คิดเป็น 59.79% เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก
…สำหรับสถานการณ์ไทยเรา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 7,079 คน สูงเป็นอันดับ 14 ของโลก หากรวม ATK อีก 1,350 คน จะขยับเป็นอันดับ 12 ของโลก แม้จำนวนติดเชื้อใหม่ที่รายงานอย่างเป็นทางการนั้นจะน้อยกว่าเวียดนาม แต่หากรวม ATK ด้วย ไทยก็ยังคงเป็นอันดับ 1 ของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง
…Long COVID แพทย์และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ในต่างประเทศมีความเป็นห่วงเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 ของประชาชนทั่วโลกว่า แม้ในอนาคตการระบาดจะลดลง แต่ปัญหาเรื่องการมีอาการคงค้างหลังรักษาโรคโควิดหายไปแล้วหรือที่เรียกว่า Long COVID นั้นจะเป็นปัญหาหนักสำหรับประเทศที่มีจำนวนประชาชนติดเชื้อมาก
บางคนใช้คำว่า Post-pandemic pandemic หรือภาวะโรคระบาดหลังโรคระบาด แม้คำดังกล่าวอาจไม่มีความหมายไม่ตรงมากนักเพราะเท่าที่ความรู้ปัจจุบันมีอยู่ ภาวะอาการคงค้างดังกล่าวเกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล ไม่ได้แพร่ต่อคนอื่น แต่สามารถสื่อความหมายถึงผลกระทบระยะยาวที่จะเกิดขึ้นทั้งในแง่จำนวนคนที่เป็น Long COVID เอง รวมถึงผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัว และต่อระบบสุขภาพของประเทศ ซึ่งมีสูงทั่วโลกได้
ข้อมูลวิจัยเรื่อง Long COVID มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาพบว่าคนที่มีภาวะนี้ มีสารเคมีในเลือดที่บ่งถึงภาวะอักเสบของร่างกาย เช่น Interleukin-6 และบางรายมีสารประเภท autoantibody ด้วย ซึ่งคงต้องมีการศึกษาต่อว่าสารเคมีต่างๆ เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติต่างๆ ของร่างกายหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็น Long COVID นั้นมีการทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ คือ T-cells ด้วย ทำให้มีสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาว่า อาจเป็นไปได้ที่โรคไวรัสโควิด-19 นั้นแม้รักษาหายแล้ว แต่ไวรัสอาจแฝงตัวใน T-cells ระยะยาวในปริมาณน้อย เหมือนโรคที่เกิดจากไวรัสบางชนิดในอดีตก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามนี่ยังเป็นเพียงสมมติฐานที่ต้องมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์ต่อไป
ภาวะ Long COVID นั้นพบได้ 20-40% จากรายงานทั่วโลก บางงานวิจัยอาจสูงกว่า ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความที่ครอบคลุมเรื่องอาการต่างๆ วิธีการศึกษา รวมถึงประชากรที่ศึกษาด้วย
ดังนั้นคงจะดีที่สุด หากเราป้องกันตัวเองและครอบครัวอย่างเคร่งครัด จะได้ไม่ติดเชื้อ จะได้ไม่เสี่ยงต่อภาวะ Long COVID.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป
สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว
สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ
ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่