'หมอยง' รับอาสาสมัครที่เคยฉีดวัคซีนไขว้ กระตุ้นด้วย mRNA เข็ม 3 เต็มโดส

15 พ.ย. 2564 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด-19 วัคซีน รับอาสาสมัครฉีดกระตุ้น วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ เข็มที่ 3 เต็มโดส

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก มีโครงการศึกษาวิจัยการกระตุ้นเข็มที่ 3 หลังได้รับวัคซีน แบบไข้ว 2 เข็มแรก

ซิโนแวค (Sinovac) เข็มที่ 1 และวัคซีนแอสตร้างเซนเนก้า (AstraZeneca) เข็มที่ 2 มาแล้ว 6 เดือน จะได้รับวัคซีนเข็ม ที่ 3 เป็น แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) หรือ ไฟเซอร์ (Pfizer) หรือ โมเดอร์นา (Moderna) เต็มโดส

โดยอาสาสมัครมีคุณสมบัติ ดังนี้ ได้รับวัคซีนแบบไขว้ ซิโนเวค (Sinovac) เข็มที่ 1 และได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เป็นเข็มที่ 2 จะต้องได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนกาเข็มที่ 2 ในช่วงวันที่ 3 มิถุนายน – 1 กันยายน 2564 หรือ มานาน 3 เดือน ถึง 6 เดือน ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน มีร่างกายแข็งแรง อายุ 18 ปีขึ้นไป

อาสาสมัครจะได้รับวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา เป็นเข็มที่ 3 เต็มโดส โดยจะขอตรวจเลือด วัดภูมิต้านทาน วันที่รับวัคซีน หลังรับวัคซีน 14 และ 28 วัน เพื่อเปรียบเทียบการกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดต่างๆ กัน

โครงการผ่านคณะกรรมการจริยธรรม No. 871/64 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ใดมีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ ขอให้กรอกใบสมัครผ่าน google form :: https://forms.gle/SvaG32suRpWiYQq87 เท่านั้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform