มีหนาว! ผลวิจัยชี้โควิดกระตุ้นอาการคล้าย 'อัลไซเมอร์'

หมอธีระบอกผลวิจัยจากออสเตรเลียชี้การติดเชื้อโควิดกระตุ้นการอักเสบของเซลล์ในสมองคล้ายโรคสมองเสื่อม ส่วนมะกันชี้ลอง โควิดกระทบต่อระบบสุขภาพของแต่ละประเทศ

02 พ.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 166,009 คน ตายเพิ่ม 357 คน รวมแล้วติดไป 635,423,773 คน เสียชีวิตรวม 6,593,611 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.47 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 75.27

...อัพเดต Long COVID
"การติดเชื้อโควิดกระตุ้นการอักเสบของเซลล์ในสมองคล้ายโรคสมองเสื่อม"

Albornoz EA และทีมงานจากมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เผยผลการวิจัยในห้องทดลองพบว่า ไวรัสโควิด-19 นั้นหากมีการติดเชื้อในเซลล์สมอง (microglia) ของมนุษย์ จะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบคล้ายกับที่พบในโรคอัลไซเมอร์ และพาร์คินสัน

ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่คนที่ติดเชื้อและประสบปัญหา Long COVID โดยมีอาการผิดปกติทางสมองหรือระบบประสาท ก็อาจเกิดจากกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้น และอาจส่งผลระยะยาวทำให้เสี่ยงต่อปัญหาสมองเสื่อมได้ อย่างไรก็ตามการทำความเข้าใจกลไกข้างต้น ก็จะนำไปสู่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยาที่จะใช้รักษาภาวะดังกล่าวต่อไปในอนาคต

"ปัญหา Long COVID จะส่งผลกระทบระยะยาวต่อระบบสุขภาพของแต่ละประเทศ"

Al-Aly E และคณะ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่บทความวิชาการย้ำให้เห็นผลกระทบของการระบาดของไวรัสโรคโควิด-19 ในแต่ละประเทศว่าจะส่งผลให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา อาทิ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางสมองและระบบประสาท โรคเบาหวาน รวมถึงโรคไต โดยมีการยกตัวอย่างผลการวิจัยที่เคยประเมินอัตราการกรองของไตในผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยมีอาการเล็กน้อยนั้นพบว่า หลังจากติดเชื้อ 1 ปี พบว่ามีอัตราการกรองของไตลดลงมากกว่าคนที่ไม่เคยติดเชื้อ โดยเทียบเท่ากับการเสื่อมลงตามอายุปกติราว 4 ปี

ด้วยข้อมูลจากการวิจัยทางการแพทย์ต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าต้องตระหนักถึงปัญหา Long COVID โดยคนที่ติดเชื้อมาก่อน ก็ควรระมัดระวังตัวไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ และหมั่นดูแลตรวจตราสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วย
การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นเรื่องจำเป็น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง เสียชีวิต และลดความเสี่ยงของ Long COVID ด้วย

เหนืออื่นใดคือ ประชาชนควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
1. Albornoz EA et al. SARS-CoV-2 drives NLRP3 inflammasome activation in human microglia through spike protein. Molecular Psychiatry. 1 November 2022.
2. Al-Aly E et al. Long COVID: long-term health outcomes and implications for policy and research. Nature Review Nephrology. 1 November 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา ‘อุ๊งอิ๊ง’! โชว์วิสัยทัศน์ เวทีผู้นำเอเปก

จับตา "นายกฯ อิ๊งค์" โกอินเตอร์! บินลัดฟ้าสหรัฐ ไม่ได้พบตัวแทนทำเนียบขาว แต่ไปเจอทีมไทยแลนด์ มอบนโยบายขับเคลื่อนความร่วมมือในภูมิภาคอเมริกา

นายกฯอิ๊งค์ เตรียมบินไปสหรัฐ ร่วมประชุมเอเปก

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางเยือนนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา และร่วมการประชุมผู้นำประเทศ

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม