28 ต.ค. 2565 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กว่า ข่าวดี! องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงอัปเดตสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย XBB และ BQ.1
WHO โดยหัวหน้าฝ่ายเทคนิคของภารกิจโควิด-19 “ดร.มาเรีย ฟาน เคอร์คอฟ” ได้แถลงอัปเดตสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย XBB และ BQ.1 เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2565 ที่ผ่านมา ดังนี้
WHO และภาคีทั่วโลกได้เฝ้าติดตามโอมิครอนกลายพันธุ์สายพันธุ์ย่อยมากกว่า 300 สายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างใกล้ชิด พบว่ากว่าร้อยละ 80 ของตัวอย่างส่งมาถอดรหัสพันธุกรรมที่ห้องปฏิบัติการทั่วโลกยังคงเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ BA.5
จากการถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอนทั่วโลก WHO และเครือข่ายพบโอมิครอนสองสายพันธุ์ย่อย “XBB” และ “BQ.1” มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าโอมิครอนทุกสายพันธุ์ในปัจจุบัน โดยไวรัสสองสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวยังคงมีการแพร่ระบาดในระดับต่ำ (low level of circulation) กล่าวคือเพิ่มจำนวนอย่างช้าๆเมื่อเทียบกับโอมิครอน BA.5
โอมิครอน XBB เป็นสายพันธุ์ลูกผสม (recombinant) ระหว่าง BA.2.10.1 และ BA.2.75 ในขณะที่โอมิครอน BQ.1 เป็นเหลนของ BA.5
เป็นที่น่ายินดีที่ทั่วโลกยังไม่พบผู้ติดเชื้อโอมิครอน XBB หรือ BQ.1 ที่มีอาการรุนแรงต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นหรือแตกต่างไปจากโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม เช่น BA.1,BA.2,BA.4 และ BA.5 อย่างมีนัยสำคัญ
แต่ WHO และเครือข่ายทั่วโลกมิได้ประมาทยังคงเฝ้าติดตามการแพร่ระบาดของโอมิครอนทุกสายพันธุ์ย่อยอย่างใกล้ชิดต่อไป
โดยขอเน้นย้ำว่าการตรวจวินิจฉัยด้วย ATK, PCR, และการถอดรหัสพันธุกรรมยังคงดำเนินการเป็นปรกติและวัคซีนยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดิมในการป้องกันการติดเชื้อที่เจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต
“ดร. อเล็กซ์ เซลบี้ (Alex Selby)” นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้คำนวณอัตราการเพิ่มจำนวนของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยต่างๆและจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวใน รพ. และเสียชีวิตเนื่องจากโควิด-19 ในอังกฤษ คาดการณ์ (จากการคำนวณ) ว่าจากนี้จนถึงปลายปี 2565 “ไม่น่าจะมีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ (ในอังกฤษ)” จากโอมิครอน เพราะในขณะนี้ดูเหมือนสายพันธุ์ย่อยที่ก้าวร้าวที่สุด (BQ.1.1, XBB.1 …) มีการเพิ่มจำนวนอย่างช้าๆ ในขณะที่โอมิครอน BA.5 ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง
https://twitter.com/i/status/1585149590583783424
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
สัญญาณอันตราย!สหรัฐพบไวรัสไข้หวัดนกในหมูเสี่ยงระบาดครั้งใหม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ