ผงะ! WHO ระบุโอมิครอนแตกหน่อสายพันธุ์ย่อยถึง 390 ชนิด

หมอธีระระบุองค์การอนามัยโลกรายงายข้อมูล โอมิครอยครองโลกต่อเนื่อง ซ้ำร้ายแตกเป็นสายพันธุ์ย่อยกว่า 390 สาย XBB กระจาย 35 ประเทศ ส่วน BQ.1.x แพร่ 65 ประเทศ

27 ต.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 298,286 คน ตายเพิ่ม 896 คน รวมแล้วติดไป 634,066,329 คน เสียชีวิตรวม 6,587,042 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอิตาลี

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.76 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 76.89

...อัพเดตจาก WHO

ล่าสุดเมื่อคืนนี้ องค์การอนามัยโลกเผยแพร่รายงาน WHO Weekly Epidemiological Update วันที่ 26 ตุลาคม 2565

สัปดาห์ล่าสุด ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ยังครองการระบาดทั่วโลก โดยตรวจพบในสัดส่วนถึง 99.7% ปัจจุบัน Omicron แตกหน่อต่อยอดมีสายพันธุ์ย่อยไปแล้วมากถึง 390 สายพันธุ์ย่อย ทั้งนี้พบว่ามีการผสมกันระหว่างสายพันธุ์ย่อยเกิดเป็นสายพันธุ์แบบ recombinant จำนวน 48 สายพันธุ์

BA.5 ยังพบในสัดส่วนสูงถึง 77.1%, BA.4 5.4%, BA.2 4.3%

สำหรับสายพันธุ์ย่อย XBB ที่ดื้อต่อภูมิคุ้มกันอย่างมากนั้น ขณะนี้ตรวจพบว่ากระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก ในขณะที่สายพันธุ์ย่อย BQ.1.x นั้นพบว่ามีการแพร่ไปแล้ว 65 ประเทศ

ที่สำคัญคือ ขณะนี้สายพันธุ์ย่อยที่เกิดขึ้นมานั้น ทั้งจาก BA.2, BA.4, และ BA.5 มีการกลายพันธุ์ของบริเวณหนามเปลือกนอกของไวรัส (Spike) ที่ตำแหน่งกรดอมิโนที่มีความเหมือนกันหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตำแหน่ง S:R346X, S:K444X, S:V445X, S:N450X และ S:N460X

ลักษณะการกลายพันธุ์ดังกล่าวที่เหมือนกันของแต่ละสายพันธุ์ย่อยที่ไม่ได้เป็นลูกหลานกันโดยตรง บ่งชี้ว่าไวรัสกำลังมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกัน (Convergent evolution) ซึ่งต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของไวรัสได้

...สถานการณ์ไทยในปัจจุบันยังมีการติดเชื้อกันรอบตัวอย่างต่อเนื่อง ประชาชนควรระมัดระวัง ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการทำงาน ศึกษาเล่าเรียน หรือตะลอนท่องเที่ยว

การไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เหนืออื่นใด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง เป็นกิจวัตร จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด