อาจารย์หมอจุฬาฯ ย้ำวัคซีนเข็มกระตุ้นโควิดยังจำเป็น

'หมอธีระ' ชี้ยอดโควิดโลกส่วนใหญ่ตอนนี้มาจากเอเชีย-ยุโรปกว่า 94% อัพเดตความรู้เรื่องวัควีนเข็มกระตุ้นยังจำเป็น เพื่อรับมือระลอกใหม่ปลายปี

26 ต.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 306,534 คน ตายเพิ่ม 798 คน รวมแล้วติดไป 633,549,973 คน เสียชีวิตรวม 6,585,043 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.73 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 77.69

...อัพเดตความรู้โควิด-19

ระดับภูมิคุ้มกันในน้ำเลือด (แอนติบอดี้) หลังฉีดกระตุ้นด้วย Bivalent vaccines เทียบเท่ากับวัคซีนรุ่นดั้งเดิม
ล่าสุดมีงานวิจัย 2 ชิ้น จากสหรัฐอเมริกา นำเสนอผลการศึกษาพบว่าวัคซีนชนิด Bivalent นั้น หลังจากฉีดเป็นเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 4) แล้ว ทำให้เพิ่มแอนติบอดี้ต่อไวรัสสายพันธุ์ BA.5 ในเลือดได้ในระดับที่ไม่ต่างจากการใช้วัคซีนดั้งเดิม

มีการวิเคราะห์กันว่า ปรากฏการณ์นี้อาจบ่งถึงภาวะ immunological imprinting จากการสัมผัสกับแอนติเจนสายพันธุ์ดั้งเดิมมาก่อน และมีผู้เชี่ยวชาญบางท่านคิดว่าอาจจำเป็นต้องฉีด Bivalent vaccine เป็นเข็มกระตุ้นครั้งที่ 2 จึงจะเห็นการตอบสนองที่จำเพาะต่อ BA.5 มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการศึกษากันต่อไปอีกระยะ ในระหว่างนี้ การฉีดวัคซีนเพื่อเป็นเข็มกระตุ้นนั้นถือว่ามีความสำคัญสำหรับทุกประเทศ เพื่อเตรียมรับมือกับระลอกใหม่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี เพื่อลดความเสี่ยงที่จะป่วยรุนแรงและเสียชีวิต

...เหนืออื่นใด การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอระหว่างใช้ชีวิตประจำวันถือเป็นเรื่องสำคัญ ใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
1. Wang Q et al. Antibody responses to Omicron BA.4/BA.5 bivalent mRNA vaccine booster shot. bioRxiv. 24 October 2022.
2. Collier A et al. Immunogenicity of the BA.5 Bivalent mRNA Vaccine Boosters. bioRxiv. 25 October 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ

ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”  ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน 

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform