24 ต.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 194,359 คน ตายเพิ่ม 368 คน รวมแล้วติดไป 632,887,656 คน เสียชีวิตรวม 6,582,752 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ไต้หวัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอิตาลี เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.64 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 95.65
…BQ.1.1 และ XBB
ดังที่ย้ำมาหลายครั้งว่า BQ.1.1 และ XBB ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยของ Omicron ที่ได้รับการประเมินจากทั่วโลกว่าจะนำไปสู่การระบาดระลอกใหม่ในปลายปีนี้
เหตุผลหลักที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วคือ การดื้อต่อภูมิคุ้มกัน และความสามารถในการขยายการระบาดสูงกว่าสายพันธุ์ที่ระบาดมาก่อน ทั้ง BA.2 และ BA.5
โดย XBB ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากที่สุด ในขณะที่ BQ.1.1 ก็ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากเช่นกัน
ล่าสุด Cao Y และคณะจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เผยแพร่ผลการศึกษาเมื่อคืนนี้ ตอกย้ำให้เห็นว่า ทั้ง BQ.1.1 และ XBB นั้น ดื้อต่อภูมิคุ้มกันอย่างมาก
ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นว่า ระดับภูมิคุ้มกันจากคนที่เคยฉีดวัคซีน CoronaVac 3 เข็ม และเคยติดเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron BA.1 มาก่อนนั้น ไม่เพียงพอที่จะจัดการกับ BQ.1.1 และ XBB ได้
นอกจากนี้แม้คนที่ฉีดวัคซีนและติดเชื้อมาก่อน เมื่อเวลาผ่านไปเกิน 6 เดือน (7.5 เดือน) ระดับภูมิคุ้มกันก็จะลดลงมากอย่างชัดเจน
ผลการศึกษาของทีมมหาวิทยาลัยปักกิ่งนี้ ตอกย้ำให้เราตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ
หนึ่ง การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ระหว่างการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องจำเป็น และจะลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อติดเชื้อลงไปได้มาก
สอง ประเทศต่างๆ ควรจัดหาวัคซีนรุ่นใหม่ชนิด bivalent vaccines ที่กระตุ้นภูมิคุัมกันได้ดีขึ้น เพื่อให้แก่ประชาชนอย่างทันท่วงที
ยืนยันอีกครั้งว่า ไวรัสโควิด-19 ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
ติดเชื้อนั้น ไม่จบแต่ชิลๆ แล้วหาย แต่มีโอกาสป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ และที่สำคัญคือเสี่ยงต่อปัญหา Long COVID ระยะยาว
การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID ไปได้บ้าง แต่ประสิทธิภาพจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไป
ดังนั้นพฤติกรรมป้องกันตัว ใส่ใจสุขภาพของตนเอง อย่างเป็นกิจวัตร เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ ควบคู่ไปกับการไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่มีประสิทธิภาพ การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘อิ๊งค์’ โชว์30บ. เวทีผู้นำเอเปก
นายกฯ อิ๊งค์โชว์ผลงาน 30 บาทรักษาทุกที่ บนเวทีผู้นำภาคเอกชนเอเปก พร้อมชวนลงทุนด้านธุรกิจดูแลสุขภาพในไทย มั่นใจหลังให้นโยบาย “บีโอไอ”
นายกฯอิ๊งค์ โชว์ 30 บาทรักษาทุกโรค บนเวทีสุดยอดผู้นำภาคเอกชนเอเปก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ 15 พ.ย. 2567 เวลา 16.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงลิมา ซึ่งช้ากว่ากรุงเทพฯ 12 ชม.) ณ the Grand National Theater of Peru กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมน
'แพทองธาร' หารือทวิภาคี 'สี จิ้นผิง' จีนยันสนับสนุนไทยในเวทีระดับโลกทุกมิติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ 15 พ.ย. 2567 เวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงลิมา ประเทศเปรู ซึ่งช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง) โรงแรม Delfines Hotel
'บาส หัสณัฐ' ปลื้มแฟนจีนแห่ต้อนรับสุดอบอุ่น เผยเตรียมลุยคอนเสิร์ตเดี่ยว
มีโอกาสได้ไปร่วมโชว์ในงาน "Trance Music Festival" ที่กุ้ยหลิน ประเทศจีน เมื่อวันก่อน ทำเอานักแสดงหนุ่มหน้าใส "บาส-หัสณัฐ พินิวัตร์" เจ้าของฉายา "บาสเด็กอ้วนที่แท้จริง" ปลื้มสุดๆ เพราะมีแฟนๆชาวจีนมาให้กำลังใจล้นหลาม งานนี้เจ้าตัวเลยมาเล่าถึงการทำงานที่จีน พร้อมทั้งอัปเดตคอนเสิร์ตเดี่ยวที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนธันวาคมนี้