'ดร.อนันต์' คาด ไวรัส XBB กับ BQ.1.1 อยู่ร่วมกันก็อาจเกิดการผสมกันได้ ไวรัสที่ออกมาจะมีแนวโน้มเพิ่มความสามารถในการหนีภูมิคุ้มกัน และ ติดเชื้อได้สูงขึ้นอีก
19 ต.ค.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก ระบุว่า
XBB กับ BQ.1.1 เป็นไวรัส 2 สายพันธุ์ที่มีคนพูดถึงกันเยอะมากตอนนี้ และ มีแนวโน้มจะเข้าทดแทน BA.5 ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมในช่วงหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง โดย XBB มีการระบาดในภูมิภาคเอเชีย ส่วน BQ.1.1 เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดในยุโรป และ สหรัฐอเมริกา
ไวรัส 2 สายพันธุ์นี้มีการเปลี่ยนแปลงบนหนามสไปค์ส่วนใหญ่เหมือนกัน แต่ก็มีบางตำแหน่งที่สร้างความแตกต่างกันได้ จากภาพจะเห็นว่าตำแหน่งการกลายพันธุ์บน XBB มีมากกว่า BQ.1.1 โดยบางตำแหน่งเชื่อว่ามีผลทำให้แอนติบอดีจากภูมิที่เคยสร้างขึ้นจากวัคซีน หรือ ติดจากสายพันธุ์อื่นๆในธรรมชาติมาจับได้ไม่ดี ประกอบด้วย L368I, V445P, G446S และ F490S ส่งผลให้ XBB หนีภูมิคุ้มกันเข้ามาติดเซลล์ของมนุษย์ได้ดี
แต่ BQ.1.1 มีตำแหน่ง L452R ซึ่ง XBB ยังไม่มี ตำแหน่งนี้เป็น signature ของไวรัส Delta และ BA.5 ซึ่งทราบว่าช่วยทำให้ไวรัสจับกับโปรตีนตัวรับ ACE2 บนผิวเซลล์ได้ดี ได้แน่นขึ้น ดังนั้นถ้าเทียบเรื่องการหนีภูมิ BQ.1.1 อาจจะด้อยกว่า XBB แต่ถ้ามีโอกาสให้ไปจับกับ ACE2 ได้ ไวรัสตัวนี้มีโอกาสติดเซลล์ได้ดีกว่า XBB
เป็นที่น่าสังเกตว่าตำแหน่งสำคัญมากๆของ Delta อย่าง P681R ที่ทำให้ไวรัสเดลต้าโตดีและเกิดการหลอมรวมของเซลล์ได้อย่างมหาศาล ยังไม่เกิดขึ้นในไวรัสตระกูล Omicron ซึ่งไวรัสทั้ง BQ.1.1 และ XBB เลือกการเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่งนี้เป็น P681H ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่พบได้จากตระกูล Alpha ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีคำอธิบายแน่ชัดว่า ทำไม P681R ถึงพบได้แต่ใน Delta แต่ไม่เสถียรในสไปค์ของโอมิครอน ซึ่งเป็นสิ่งที่ธรรมชาติเลือกมา
ตอนนี้ BQ.1.1 อาจเปลี่ยนแปลงตัวเองเพิ่มไปเหมือน XBB หรือ XBB อาจนำ L452R เข้ามาให้ตัวเองติดเซลล์เก่งขึ้นเหมือน BQ.1.1 หรือ ถ้าไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์มาอยู่ร่วมกันก็อาจเกิดการผสมกันระหว่าง XBB - BQ.1.1 ได้เช่นกัน ซึ่งไวรัสที่จะออกมาก็จะมีแนวโน้มเพิ่มความสามารถในการหนีภูมิคุ้มกัน และ ติดเชื้อได้สูงขึ้นอีก ส่วนความรุนแรงยังเป็นสิ่งที่ประเมินไม่ได้จากการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนสไปค์ คงต้องดูการตอบสนองจากโฮสต์เป็นตัวประเมินครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
หนาว! ไทยมีสิทธิ์เป็นประเทศที่สองในโลกที่ฝีดาษวานรโผล่นอกแอฟริกา
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'ดร.อนันต์' เตือนสติไวรัสยังเป็นสิ่งน่ากังวล
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัยสาเหตุโลกไม่นิยมใช้ 'โมนูพิราเวียร์' สู้โควิด!
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ผงะ! ดร.อนันต์บอกชายเยอรมันฉีดวัคซีนโควิดมากสุด 217 เข็มใน 29 เดือน
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ