'หมอธีระ' ชี้ตอนนี้ผู้ติดเชื้อโควิดส่วนใหญ่มาจากเอเชีย-ยุโรป เปิดผลศึกษา Long Covid ล่าสุดจากสกอตแลนด์ตอกย้ำปัญหาระยะยาว แนะป้องกันตัวเองดีที่สุด
13 ต.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 13 ตุลาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 358,571 คน ตายเพิ่ม 851 คน รวมแล้วติดไป 628,030,898 คน เสียชีวิตรวม 6,564,891 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส ไต้หวัน อิตาลี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 18 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.32 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 70.38
...อัพเดต Long COVID
การศึกษาขนาดใหญ่ในสกอตแลนด์ ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 33,281 คน (โดยเป็นการติดเชื้อแบบมีอาการ จำนวน 31,486 คน) และได้ติดตามประเมิน ณ 6, 12, และ 18 เดือน เปรียบเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้ติดเชื้อ 62,957 คน พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วมีอาการนั้น 6% ยังคงมีอาการผิดปกติและไม่ดีขึ้น (no recovery) ในขณะที่มีถึง 42% ที่อาการดีขึ้นเพียงบางส่วน โดยมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง และประสบปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวัน
ผลการศึกษานี้ย้ำให้เห็นถึงผลกระทบระยะยาวของ Long COVID การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
บทเรียนสองปีที่ผ่านมา ทั้งเรื่องความเจ็บป่วยสูญเสีย เรื่องชุดตรวจโรค เรื่องยา เรื่องวัคซีน เรื่องการเข้าถึงบริการ และเรื่องชุดข้อมูลข่าวสาร สอนให้เราทุกคนรู้ว่า จำเป็นต้องพึ่งพาตนเองในภาวะวิกฤติ หมั่นติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของทั่วโลกและเตรียมรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ และติดตามความรู้ที่ถูกต้อง นำไปใช้ตัดสินใจประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสม เพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิต
สภาพสังคมปัจจุบันที่มีโรคระบาดต่อเนื่อง ปัญหาสิ่งเสพติดกลาดเกลื่อนสังคม อาชญากรรม และผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อทุกคน จำเป็นต้องดำรงชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ความใส่ใจสุขภาพของตนเองและครอบครัว เป็นหัวใจสำคัญ
อ้างอิง
Hastie CE et al. Outcomes among confirmed cases and a matched comparison group in the Long-COVID in Scotland study. Nature Communications. 12 October 2022.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก