ดร.อนันต์ เผยงานวิจัยUKระบุ บางคนสัมผัสเชื้อโควิดแต่ไม่ติดเพราะมีT-Cell กำจัด ชี้นำไปสู่การสร้างวัคซีนที่ใช้ทีเซลล์มากขึ้นได้

12 พ.ย.2564- ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊” Anan Jongkaewwattana”ว่า บางคนอาจมี T cell ที่สามารถขจัดเชื้อโควิด ออกจากร่างกายได้ ดังนี้

ข้อมูลนี้มาจากงานวิจัยใน UK ที่ตีพิมพ์ใน Nature พบว่าการระบาดใน wave แรก พบ คนที่สัมผัสเชื้อแต่ตรวจ PCR และ แอนติบอดีไม่พบ มีความสัมพันธ์กับระดับ T cell ที่จับกับโปรตีนที่เป็นเอนไซม์ที่ไวรัสตระกูลโคโรน่าใช้ในการเพิ่มจำนวน ซึ่งไวรัสโรคโควิด-19 มีเอนไซม์ตัวนี้เหมือนโคโรน่าตัวอื่นๆที่เราติดกันประจำอยู่แล้วด้วย โดย T cell ที่สร้างจากการติดโคโรน่าตัวอื่นนี้น่าจะเป็นตัวช่วยให้คนเหล่านั้น clear virus ออกไปได้ไว


แต่ในบริบทของเดลต้า ไวรัสเพิ่มปริมาณไวกว่าไวรัสใน wave แรกมาก การที่ T cell ดังกล่าวจะถูกกระตุ้นให้ออกมาทำหน้าที่จะต้องใช้เวลา อย่างน้อย 3 วัน ซึ่งสำหรับเดลต้าอาจจะไม่ทัน เราคงจะหาเคสที่ตรวจ PCR ไม่พบ หรือ ไม่มีภูมิ แบบ wave แรกไม่เจอแล้วครับ…แต่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า vaccine ควรมุ่งที่จะใช้ T cell มาช่วยแอนติบอดีด้วย เพราะตกไวเหลือเกิน

อีก 3 ชั่วโมงถัดมา ดร.อนันต์ ยังได้โพสต์ข้อความจากวารสาร Nature Medicine ถึงคำตอบที่หาไม่ได้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นดังนี้

คำถาม 3 ข้อหลักๆที่ตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัคซีนยังหาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ จากบทความล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน Nature Medicine

  1. ใครคือกลุ่มที่สมควรได้วัคซีนเข้มกระตุ้น…ทุกคน หรือ เฉพาะกลุ่มเสี่ยง? ภูมิคุ้มกันที่ตกลงมาจากการวัดแอนติบอดี เกี่ยวข้องกับ “breakthrough infection” คือ การติดเชื้อซ้ำ แต่ยังไม่สัมพันธ์กับความสามารถในการป้องกันอาการรุนแรงของโรคโควิด ทำให้เชื่อว่าการฉีดเข็มกระตุ้นเพื่อป้องกันอาการป่วยรุนแรงอาจจะไม่จำเป็นสำหรับทุกคน
  2. ถ้าจะกระตุ้น ควรกระตุ้นตอนไหนดี? ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนจากวัคซีนแต่ละชนิดที่ใช้กัน วิธีที่ใช้คือดูเวลาที่เห็นการติดเชื้อซ้ำในประชากรที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มไปแล้วกี่เดือน จากกราฟที่แสดงจะเห็นว่า ระดับภูมิคุ้มกันที่ตกลงมาจนถึงจุดที่ร่างกายเริ่มติดเชื้อได้คือประมาณ 6 เดือน ซึ่งถ้าการกระตุ้น ก่อนหน้านั้น ก็อาจจะส่งผลให้กราฟระดับภูมิคุ้มกันหลังกระตุ้นจะไม่ดีดสูงเหมือนที่ต้องการ ทำให้ภูมิตกไว และ ต้องกลับมากระตุ้นต่ออีกเรื่อยๆ
  3. ภูมิหลังกระตุ้นจะอยู่นานแค่ไหน? ข้อมูลยังไม่ชัดเจน เพราะยังเก็บเวลาไปได้ไม่นาน แต่สัมพันธ์กับข้อ 2 คือ ถ้าไปกระตุ้นไว ภูมิที่ดีดขึ้นมาก็จะไม่มาก อนุมานต่อได้ว่า ภูมิก็จะอยู่ไม่นานเท่าที่ควรจะเป็นครับ
    ที่มา
    https://www.nature.com/articles/s41591-021-01560-x

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า