'ศูนย์จีโนมทางการแพทย์' เปิดต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019

ศูนย์จีโนมฯ เผยโอไมครอนสานพันธุ์ลูกผสม XBB หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เหนือกว่าทุกสายพันธ์ที่พบมา โชคดียังไม่พบในไทย เผยโลกสร้างต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019 ได้แล้ว

06 ต.ค.2565 – เพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ Center for Medical Genomics โพสต์รูปพร้อมเนื้อหาระบุว่า โอไมครอน “XBB” สายพันธุ์ลูกผสมระหว่างโอไมครอน “BJ.1” และ “BA.2.75” ซึ่งมีบรรพบุรุษร่วมกันมาคือ “BA.2” ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ "กริฟฟอน (Gryphon)" หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เหนือกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อน ดื้อต่อแอนติบอดีสังเคราะห์ทุกชนิด (ทดสอบในหลอดทดลอง) พบในประเทศสิงคโปร์ อินเดีย และบังกลาเทศ เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่พบในประเทศไทย

จากการที่นักวิจัยทั่วโลกช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 มาตลอด 3 ปีทำให้สามารถสร้างต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019 (ด้วยระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง)เริ่มตั้งแต่ต้นกำเนิดจาก “ไวรัสอู่ฮั่น” ได้มีการวิวัฒนาการกลายพันธุ์เกิดเป็นทั้งสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อยแตกแขนงมาทดแทนกันอย่างต่อเนื่อง (phylogenetic tree) จนล่าสุดเกิดเป็นโอไมครอน 4 สายพันธุ์ย่อยฺ BQ.1.1, BA.2.3.20, BA.2.75.2, XBB ที่คาดว่าจะระบาดมาแทนที่ BA.5 ในสิ้นปีนี้หรือต้นปี 2566 (ภาพ1)

โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB เป็นลูกผสมระหว่างโอไมครอนสายพันธุ์ BJ.1 และ BA.2.75 มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านไม่ยอมรับว่า "กริฟฟอน (Gryphon)" กลายพันธุ์ต่างจากไวรัสอู่ฮั่นไปกว่า 100 ตำแหน่ง มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) กว่าทุกสายพันธุ์ในปัจจุบัน แต่ไม่มากนัก

โอไมครอน XBB มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.5 ประมาณ 1.86 เท่า (186%)

โอไมครอน XBB มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.2.75.2 ประมาณ 1.1 เท่า (110%)

โอไมครอน XBB มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.2.3.20 ประมาณ 0.2 เท่า (22%)

โอไมครอน XBB มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BQ.1.1 เพียงเล็กน้อยประมาณ 0.04 เท่า (4%)

จากการทดสอบในหลอดทดลองพบว่าโอไมครอน XBB หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เหนือกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อน และดื้อต่อแอนติบอดีสังเคราะห์ทุกชนิดที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน

โอไมครอน XBB จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบเพียง 59 ราย พบมากในประเทศบังกลาเทศ สิงคโปร์ และอินเดีย

โอไมครอน BA.2.3.20 จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบ 178 ราย พบมากในประเทศสิงคโปร์ และบูรไน

โอไมครอน BQ.1.1 จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบ 354 ราย พบมากในประเทศไนจีเรีย และเบลเยียม

โอไมครอน BA.2.75.2 จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบ 960 ราย พบมากในประเทศสิงคโปร์ และอินเดีย

เป็นที่น่าสังเกตว่าโอไมครอน 4 สายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ไปมากกว่า 100 ตำแหน่งต่างจากไวรัสอู่ฮั่นและมีแนวโน้มจะเข้ามาแทนที่ BA.5 ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า มีถึง 3 สายพันธุ์คือ XBB, BA.2.3.20, และ BA.2.75.2 ที่พบมากในประเทศสิงคโปร์ อินเดีย และบังกลาเทศ

หลายฝ่ายกังวลถึงการระบาดของ “โอไมครอน” ระลอกใหม่ในช่วงฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ ธันวาคม 2565 ของประเทศในแถบซีกโลกเหนือซึ่งอาจมีความรุนแรง

สามารถสืบค้นเพิ่มเติม โอไมครอน 3 สายพันธุ์ย่อยฺ BQ.1.1, BA.2.3.20, และ BA.2.75.2 ได้จากโพสต์ https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid02AM313vF6T6xEL5R9F2AdHhYKw9tDtNieaTB8kRGvRpqiMpqgfANsGFCY57iEv5hcl

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

คู่มือฉบับเร่งด่วนที่เจ้าของควรรู้ 'ไข้หวัดนก' ในแมว-สุนัข

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "31 รัฐในสหรัฐ เผชิญไข้หวัดนกในแมวและสุนัข

จับตา! 'ไข้หวัดนก' ระบาดใหม่ 2 ราย ในกัมพูชา พบเด็กอุ้มซากไก่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กัมพูชาพบผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 รายใหม่ 2 ราย ในจังหวัดตาแก้ว