4 ต.ค.2565-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan หัวข้อ “โควิด 19 ถอดบทเรียนโควิด 19 ในระยะเวลารวม 3 ปี “
จะถอดบทเรียนเพื่อเป็นประโยชน์ในอนาคตในสังคมไทย
เมื่อเกิดโรคอุบัติใหม่ขึ้น ที่มีผลต่อสุขภาพ ร่างกายและชีวิต โดยเฉพาะเกี่ยวกับไวรัส และยังไม่มียา วัคซีนที่ใช้ในการรักษาและป้องกัน
ในระยะแรกก็มีการตื่นตระหนก และเกิดความกลัว เป็นเรื่องธรรมดาเพราะความไม่รู้
1 หลักการระบาดของโรคไวรัส โรคยิ่งรุนแรง การระบาดจะอยู่วงแคบเช่น Ebola จะไม่กระจายไปทั่วโลก ที่ไม่รุนแรง หรือรุ่นแรงน้อยกว่าจะสามารถระบาด ไปได้ไกลกว่า เช่นไข้หวัดใหญ่ โรค SARS รุนแรงกว่า covid-19 มาก มีอัตราตายสูง ถึง 10% ถึงระบาดไปเกือบ 20 ประเทศก็สามารถควบคุมได้ เพราะผู้ป่วยที่เป็นจะมีอาการหนักโอกาสแพร่กระจายไปให้ผู้อื่นได้น้อยกว่า
2 โควิด 19 ในระยะแรกเหมือนมีอาการมาก แต่เมื่อระบาดออกมากระจายวงกว้าง ตามหลักของวิวัฒนาการของไวรัส จะต้องปรับตัว ให้อยู่ด้วยกันได้เจ้าถิ่นหรือเจ้าบ้าน เช่นเดียวกันทุกวันนี้โควิด 19 พยายามปรับตัวไม่หายไปไหน และจะอยู่กับเราตลอด โดยลดการทำลายเจ้าบ้านลดลง ขณะนี้จึงคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
3 ในระยะแรกเมื่อไม่รู้อะไรเลย ทุกคนต้องสร้างความรู้ ด้วยการศึกษาวิจัยให้เร็วที่สุด ไม่ใช่ใช้ความเชื่อ และงานวิจัยที่เหมาะสมกับบ้านเราเท่านั้นที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด
4 การป้องกันการแพร่กระจายของโรค ในประเทศไทย ทำได้ดีกว่าตะวันตกมาก ไม่ว่าจะเป็นสุขอนามัยล้างมือ การกำหนดระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย นับว่าลดการแพร่กระจายในระยะแรกได้เป็นอย่างมาก
5 ทุกคนเรียกร้องวัคซีน คิดว่าวัคซีนจะเป็นทางในการยุติ มีการจองวัคซีนที่ต้องจ่ายเงินก่อนโดยที่ยังไม่เห็นของ ถ้าของนั้นดีหลายอย่าง และจะต้องเสียเงินถึงแม้ว่าจะไม่ได้ของ โชคดีที่ประเทศไทยไม่ได้จับจองแบบนั้น ถ้าเช่นนั้นเราจะต้องสูญเสียเงินอีกมาก
6 วัคซีนทุกตัวที่พัฒนาขึ้นมาและมีการใช้โดยองค์การอนามัยโลกรับรอง ได้ผลไม่ต่างกันเลย ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนเชื้อตาย หรือ virus Vector หรือ mRNA มีการฉีดวัคซีนเชื้อตายทั่วโลกไปเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ในขณะที่ประเทศที่ฉีด mRNA วัคซีน เช่นประเทศอเมริกาและตะวันตก กลับพบว่า มีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าเสียอีก แสดงให้เห็นว่าการป้องกันโรคไม่ได้อยู่ที่วัคซีน
7ในระยะแรกที่วัคซีนขาดแคลน การฉีดวัคซีนสูตรสลับ หรือสูตรไขว้ เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้กันมาแต่ในอดีตไม่ว่าวัคซีนในเด็ก เราจึงฉีดต่างบริษัทกันเสมอ แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนในที่สุดก็เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ว่าการให้วัคซีนเชื้อตายปูพื้น แล้วกระตุ้นด้วยวัคซีนต่างชนิด ผลลัพธ์ที่ได้ภูมิต้านทานจะเป็นลูกผสม และมีประโยชน์ในการป้องกันได้เป็นอย่างดี งานศึกษาวิจัยที่ออกจากประเทศไทยสูตรไข้วเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก และองค์การอนามัยโลกก็ไปเขียนเป็นคำแนะนำ
8 ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ขึ้นอยู่กับจำนวนเข็มของวัคซีน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน การให้วัคซีนครบ หมายถึงต้องให้อย่างน้อย 3 ครั้ง และในกลุ่มเสี่ยงจะต้องได้อย่างน้อย 4 ครั้งจึงจะเรียกว่าได้รับวัคซีนครบ
9 ถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนกี่เข็มก็ตาม ก็ยังสามารถติดโรคได้ แต่ความรุนแรงลดลง จนในที่สุดทุกคนก็ยอมรับความจริง และจนปัจจุบันนี้เข้าใจว่าประชากรไทยมีการติดเชื้อไปแล้วถึงร้อยละ 70 ร่วมกับการฉีดวัคซีนอีก ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานที่เกิดเป็นแบบลูกผสม ที่ถือว่าเป็นภูมิต้านทานที่ดีที่สุด ที่จะลดความรุนแรงของการติดเชื้อในครั้งต่อๆ
10 เราลงทุนกับการสั่งซื้อวัคซีนมาเป็นจำนวนมาก และขณะนี้ เชื่อว่ามีวัคซีนที่เหลือและกำลังจะหมดอายุ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเงินงบประมาณภาษีของเราทั้งสิ้น เราอยากให้ทุกคนได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มหรือ 4 เข็มในกลุ่มเสี่ยง ตามเป้าหมายก็ยังไม่ได้แต่วัคซีนก็เหลือเป็นจำนวนมาก
11 การว่ากล่าวให้ร้าย bully ในสังคมไทย เกิดขึ้นอย่างมากมาย ทำให้ นักวิชาการจำนวนมากเกรงกลัวและไม่กล้าที่จะพูด ซึ่งเป็นผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ การกล่าวหาในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง หรือไม่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เราต้องแยกข่าวจริงและข่าวปลอมออกให้ได้ และไม่ควรแชร์เอาปลอมออกไปเด็ดขาด
12 การให้ข้อมูลของประเทศไทย จากนักวิชาการต่างๆ ส่วนมาก จะอ่านมา และจับบางประเด็นที่ตัวเองสนใจมาเผยแพร่ให้เป็นข่าว ทั้งที่ความจริงไม่ได้เกิดจากการศึกษาวิจัยของตัวเอง รวมทั้งก็ไม่ได้เป็นผู้เชึ่ยวชาญในศาสตร์นั้น มาให้ข้อมูลทำให้เกิดความสับสนต่อประชาชนเป็นอย่างมาก
13 ประเทศไทยควรให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัยในโรคอุบัติใหม่ ยกตัวอย่างเช่นโควิด 19 เราลงทุนเป็นแสนล้าน ในบางอย่างถ้าเราใช้เงินเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เพื่อมาทำงานวิจัยตอบคำถามให้ชัดเจนว่าสมควรใช้หรือไม่ จะได้ประโยชน์กว่าอย่างมากและเป็นการประหยัดเงิน โดยเฉพาะเรื่องของยารักษาโรคอุบัติใหม่
14 การพัฒนาวัคซีนในประเทศไทย ขีดความสามารถนักวิจัยอยู่ในวงจำกัด และมีปริมาณน้อยมาก ควรร่วมมือกัน ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง มากกว่าที่ต่างคนต่างๆ เราไม่ได้มีปัญหาเรื่องเงินทอง ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเครื่องมือ แต่เรายังต้องปรับปรุงมาตรฐาน โดยเฉพาะทางห้องปฏิบัติการ เช่นการตรวจภูมิต้านทาน ต้องได้มาตรฐาน GLP การศึกษาทางคลินิกประเทศไทยมีความสามารถอยู่แล้วในการศึกษาวิจัยอย่าให้ต่างประเทศ แต่ในระดับโรงงาน และห้องปฏิบัติการยังต้องปรับปรุงมาตรฐานขึ้น ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถผลิตและจำหน่ายออกไปต่างประเทศได้เลย ประชาคมวิจัยมีจำกัด ควรหันหน้าเข้าหากัน พิจารณาเลือกทำตัวใดตัวหนึ่งมากกว่าที่จะต่างคนต่างทำ
15 เราผ่านมาได้ถึงทุกวันนี้ ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน ในการลดการแพร่กระจายของโรคในระยะแรกที่เรายังไม่รู้อะไรเลย และเราเชื่อว่า ต่อไปนี้เราจะอยู่กับโรค covid-19 ได้เช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่ ซึ่งโรคนี้ก็ไม่ได้หายไปไหน เรามีวัคซีนในการลดความรุนแรง ของโรค เรามียาดีขึ้นในการที่จะใช้ในการรักษา ชีวิตจะต้องเดินหน้าต่อไป และสิ่งที่ต้องการอย่างยิ่งก็คือว่าให้สังคมไทย เป็นสังคมที่อุดมปัญญา มากกว่า ที่จะมากล่าวให้ร้ายแก่กัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชวนฉีดวัคซีน ปีนี้ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้หวัดใหญ่ปีนี้ระบาดมาก
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ อาการติดเชื้อโรค 'ฝีดาษวานร'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX ลักษณะอาการของโรค
'หมอยง' เตือนรับมือ 'ฝีดาษลิง' สายพันธุ์ใหม่ รุนแรงติดง่าย หวั่นระบาดใหญ่ทั่วโลก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง
ศูนย์ไวรัส จุฬาฯ จับตาโรค 'โอโรพุช' ระบาดในลาตินอเมริกา อาการคล้ายไข้เลือดออก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า