ข่าวร้าย! นพ.ธีระระบุโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2.75.2 และ BQ.1.1 จะมาอาละวาดรอบใหม่

หมอธีระบอกข่าวร้าย อ้างองค์การอนามัยโลกชี้โอมิครอนสายพันธุ์ BA.2.75.2 และ BQ.1.1 จะมาอาละวาดรอบใหม่! ระบุทั้งคู่มีความสามารถดีกว่า BA.5 ถึง 6 เท่า

29 ก.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด19 ประจำวันที่ 29 กันยายน 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 312,508 คน ตายเพิ่ม 768 คน รวมแล้วติดไป 621,525,192 คน เสียชีวิตรวม 6,544,351 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส ไต้หวัน รัสเซีย อิตาลี และเกาหลีใต้

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 18 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 92.41 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 69.4

...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 16 ของโลก และอันดับ 6 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

...อัพเดตสายพันธุ์ไวรัสที่ระบาด องค์การอนามัยโลก ออกรายงาน WHO Weekly Epidemiological Update เมื่อคืนนี้ 28 กันยายน 2565 รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา Omicron นั้นครองการระบาด 99.9% ทั้งนี้สายพันธุ์ย่อยของ Omicron ที่มีการระบาดมากสุดยังคงเป็น BA.5 81.2% ในขณะที่ BA.4 (รวมถึง BA.4.6) 8.1% และ BA.2 (รวม BA.2.75) 2.9%

...BA.2.75.2 และ BQ.1.1 เป็นสายพันธุ์ที่อาจทำให้เกิดระลอกถัดไป วารสารวิทยาศาสตร์ระดับโลกอย่าง Science ได้เผยแพร่บทความที่เน้นย้ำให้มีการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดระลอกถัดไป

หลักฐานวิชาการทั้งจากงานวิจัยของ Karolinska Institute ประเทศสวีเดน และจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ชี้ให้เห็นว่า ทั้งสองสายพันธุ์นั้นมีสมรรถนะในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันมากกว่า BA.5 ถึง 6 เท่า

นอกจากนี้ยังพบว่าสายพันธุ์ย่อยที่กลายพันธุ์เหล่านี้ยังสามารถจับกับตัวรับที่ผิวเซลล์ได้ดี ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าหลังจากติดเชื้อ ไวรัสนี้สามารถที่จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างแอนติบอดี้ที่ผิดปกติ ที่แม้ว่าจะจับกับไวรัสได้ แต่ไม่ได้บั่นทอนสมรรถนะของไวรัสที่จะติดเชื้อไปยังเซลล์อื่นต่อไป

ด้วยคุณสมบัติทั้งสามเรื่อง จึงมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการระบาดใหญ่ขึ้นมาได้ในอนาคต หากไม่ป้องกันให้ดี

...การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ระหว่างการดำเนินชีวิตประจำวัน

...Long COVID นั้นเป็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และส่งผลบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการดำรงชีวิตและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด ไม่ว่าจะครั้งแรกหรือติดซ้ำก็ตาม เพราะความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

อ้างอิง
1. WHO Weekly Epidemiological Update. 28 September 2022.
2. Big COVID-19 waves may be coming, new Omicron strains suggest. Science. 27 September 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน