ชง ครม. อังคารหน้า เลิก 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' มีผล 30 ก.ย.

‘เลขาฯสมช.’ ยันยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่กระทบคุมโควิด ใช้กม.โรคติดต่อดูแลแทน ชง ครม. 27 ก.ย.นี้ ชี้พื้นที่ไหนกลับมาระบาดหนัก ผู้ว่าฯ ใช้อำนาจจัดการได้

23 ก.ย. 2565 – เมื่อเวลา 12.15 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ครั้งที่ 12/2565 ว่า การยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) จะมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. เนื่องจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เดิมได้ประกาศไว้สิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. ซึ่งตามกฎหมายต้องดำเนินการตามนี้ กลไกต่อไปจะเป็นคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข จะดูแล และจากนี้ไปจะเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ถามกันว่ายกเลิกเพราะอะไร จริงๆ แล้ว หากได้มีการติดตามการแก้ไขสถานการณ์โควิด19 ของรัฐบาล โดย ศบค. ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เคยปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีการดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นมีจุดที่จะต้องพิจารณาและประเมิน พอถึงจุดที่เหมาะสม โดยจุดที่เป็นไฮไลต์ช่วงนี้คือสถานการณ์ที่ดีขึ้นและกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง กฎหมายปกติใช้ได้แล้วก็ดำเนินการตามแผนตามขั้นตอนที่ได้วางไว้

ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การดูแลสถานการณ์โควิด-19 จะไปใช้กฎหมายปกติใช่หรือไม่ เลขาธิการ สมช.กล่าวว่า ใช่ เป็นพระราชบัญญัติโรคติดต่อ จริงๆ แล้วยังมีร่าง พ.ร.บ. โรคติดต่อ ที่ปรับปรุงจากที่ใช้อยู่เดิมด้วย คือปี 2558 ถ้ามีอะไรพิเศษเราสามารถพิจารณาใช้กฎหมายเพิ่มเติมได้

เมื่อถามว่า การยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ศบค.ต้องยุติลงไปใช่หรือไม่ พล.อ.สุพจน์กล่าวว่า ศบค.ยุติลง รวมถึงหน่วยงานภายใต้ ศบค. ก็ต้องยุติ ซึ่งวันนี้ในที่ประชุมได้มีการรายงานผลงานตั้งแต่กระทรวงสาธารณสุขและอีกหลายๆกระทรวงที่ร่วมกันทำงาน ตอนนี้ต้องยุติและใช้กลไกปกติดำเนินการ

ส่วนหากสถานการณ์โควิดกลับมาแพร่ระบาดรุนแรงอีกครั้ง สามารถประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้อีกหรือไม่นั้น เลขาธิการ สมช. กล่าวว่า จริงๆ แล้วประกาศได้อีก ในประเทศไทยอะไรที่เป็นวิกฤตที่ ครม. เห็นว่าต้องใช้กฎหมายพิเศษก็สามารถทำได้เลย แต่ในเรื่องของโควิดทางเราและสาธารณสุขได้พูดคุยกันแล้ว ใช้กลไกคณะกรรมการโรคติดต่อ ฉะนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพฯ ก็สามารถใช้อำนาจตัวเองในการประกาศให้เป็นโรคระบาดและใช้กฎหมายที่ตัวเองมีอยู่จัดการได้ก่อน

เมื่อถามว่า ขั้นตอนจากนี้ต้องมีการเสนอให้ที่ประชุม ครม. ใช่หรือไม่ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ต้องนำเข้า ครม. วันอังคารที่ 27 ก.ย.นี้

เมื่อถามย้ำว่า มีผลในวันที่ 30 ก.ย.หมายถึงเที่ยงคืนหรือไม่ พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ตามเวลา ทางกฎหมายตนไม่แน่ใจ แต่ก็เป็นไปตามกฎหมาย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' ขอบคุณสื่อตั้งฉายา ภูมิใจทำประโยชน์บ้านเมือง ปัดขวางใคร อุ้ม 2 รมต.โลกลืม

'อนุทิน' น้อมรับฉายาสื่อทำเนียบฯ ลั่นภูมิใจทำประโยชน์ให้บ้านเมือง ไม่ได้คิดขวางใคร อวย 'แพทองธาร' ตั้งใจทำงาน แจงแทน 2 รมต.โลกลืม 'เพิ่มพูน' พูดน้อยแต่ผลงานอื้อ

'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ฉายารัฐบาลปี67 นายกฯ'แพทองโพย' อนุทิน'ภูมิใจขวาง' วาทะแห่งปี'สามีเป็นคนใต้'

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาปี 67 'รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง' ส่วนฉายานายกฯ 'แพทองโพย' 7 รมต.ติดโผ 'บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี' พ่วง 3 รมต.โลกลืม

ครม.อนุมัติร่างประกาศ มท. กำหนดจำนวนคนต่างด้าวขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ.

'นายกฯอิ๊งค์' ตอกย้ำ 'ทักษิณ' มีอิทธิพลเหนือรัฐบาล-เพื่อไทย

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เสียโอกาส การที่นายทักษิณออกมาสับแหลกพรรคร่วมรัฐบาล