23 ก.ย. 2565 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Center for Medical Genomics” ว่า “BQ.1.1” เหลนของโอมิครอน BA.5 มีการกลายพันธุ์บริเวณหนามต่างจาก BA.5 สามตำแหน่ง คือ R346T, K444T และ N460K มีแนวโน้มที่จะระบาดมาแทนที่ “BA.5” และ “BA.2.75.2”
ขณะนี้จำนวนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจากการติดเชื้อตามธรรมชาติและจากการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตทั่วโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หลายประเทศได้ปรับสถานะให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น
ภูมิคุ้มกันในมนุษย์ทั่วโลกที่มีเพิ่มขึ้นเป็นแรงผลักดันให้ไวรัสต้องเร่งกลายพันธุ์เพื่อความอยู่รอดโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงบริเวณส่วนหนามที่อยู่เปลือกนอกของอนุภาคไวรัสเพื่อหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันให้สามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คนตราบนานเท่านาน
จากการประสานความร่วมมือของ “นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในยุคดิจิทัล” ได้ร่วมด้วยช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา-2019 ทั้งจีโนม อัปโหลด และ แชร์ไว้บนฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” ทำให้เราสามารถรู้เท่าทันการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลกได้ในแบบเรียลไทม์
ในระหว่างที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกำลังติดตามเฝ้าระวังการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75.2” ที่พบการระบาดในอินเดียเป็นประเทศแรกและแพร่ไปทั่วโลกโดยเข้ามาแทนที่ BA.5 และ BA.4.6 อย่างช้าๆ ก็สามารถตรวจพบโอมิครอน “รุ่นเหลนของ BA.5” ตัวใหม่ในประเทศอังกฤษ มีชื่อว่า BA.5.3.1.1.1.1(.1) หรือ “BQ.1.1” (ภาพ1)
โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่มีการกลายพันธุ์เกินหน้าและมีแนวโน้มที่อาจมาแทนที่โอมิครอน BA.5 ที่เป็นสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้ คือ
BA.5.3.1.1.1.1(.1) / BQ.1.1
BA.2.3.20
BA.2.75.6.1 / BY.1
BA.2.75.5.1 / BN.1
BA.2.75.2
BA.5.2.1.7 / BF.7
โดยผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกำลังพุ่งความสนใจไปที่ BQ.1.1 มากที่สุด เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษตรวจพบตัวอย่างแรกเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ขณะนี้ (22 กันยายน 2565) พบในฐานข้อมูล “GISAID” แล้ว 28 ราย โดยทั้งโลกพบแล้ว 78 ราย เรียงตามจำนวนตัวอย่างที่พบคือประเทศอังกฤษ, สหรัฐ, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย, อิตาลี, เดนมาร์ก, เบลเยียม, ญี่ปุ่น,ออสเตรีย, เนเธอร์แลนด์, เยอรมนี (ภาพ2)
โอมิครอน BQ.1.1 ซึ่งเป็นเหลนของ BA.5 มีการกลายพันธุ์บนส่วนหนาม 3 ตำแหน่ง คือ R346T, K444T and N460K ที่ต่างไปจาก BA.5 (ภาพ3) และเหมือนกับ BA.4/BA.5 อีก 4 ตำแหน่งคือ 69-70 ที่ขาดหายจากจีโนม, L452R, R493Q, และ F486V
โอมิครอน BQ.1.1 กลายพันธุ์บนส่วนหนาม 6 ตำแหน่ง ต่างไปจาก BA.2.75.2 คือ 69-70 ที่ขาดหายจากจีโนม, L452R, K444T, G339D, และ F486V (ภาพ4)
จะเห็นได้ว่าตำแหน่งการกลายพันธุ์บนส่วนหนามในแต่ละสายพันธุ์ย่อยเริ่มคล้ายคลึงกัน กล่าวคือมีลักษณะของการวิวัฒนาการรูปแบบของ “convergent evolution” คือต่างสายพันธุ์กันแต่มีการพัฒนาลักษณะที่คล้ายกันเช่นปีกของนก แมลง และค้างคาว เพื่อตอบสนองเนื่องจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจง (หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน)
ยังไม่พบโอมิครอน BQ.1.1 ในประเทศไทย
BQ.1.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) มากกว่า BA.5 ประมาณ 5.3 เท่า (531%) (ภาพ5)
และมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) มากกว่า BA.2.75.2 ประมาณ 3.2 เท่า (327%) (ภาพ6)
ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่มีความสามารถในการแพร่ระบาดรวดเร็วที่สุดในโลกในขณะนี้ ส่วนอาการความรุนแรงของการติดเชื้อยังไม่พบความแตกต่างจาก BA.5 อย่างมีนัยสำคัญ
https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.09.15.507787v1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
เอาแน่ 'คมนาคม' เร่งศึกษาค่าธรรมเนียมรถติด
“คมนาคม” เดินเครื่องศึกษามาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เปิดโมเดล 4 ประเทศ “อังกฤษ-สิงคโปร์-สวีเดน-อิตาลี” พบช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน สนข. เร่งศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ชี้ช่วยดึงดูดประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เชื่อมระบบฟีดเดอร์-ขนส่งหลัก หนุนนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
สัญญาณอันตราย!สหรัฐพบไวรัสไข้หวัดนกในหมูเสี่ยงระบาดครั้งใหม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ