WHO เริ่มวางแนวทางรักษา 'ลองโควิด' แนะไทยศึกษาบทเรียนประเทศอื่น

16 ก.ย. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 418,087 คน ตายเพิ่ม 1,020 คน รวมแล้วติดไป 615,815,854 คน เสียชีวิตรวม 6,524,406 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญึ่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย ไต้หวัน และฝรั่งเศส เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 90.34 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 67.54

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 16 ของโลก และอันดับ 7 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

….Long COVID ในอเมริกา

งานวิจัยจาก Robertson M และคณะ จาก CUNY School of Public Health ในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ใน medRxiv เมื่อ 14 กันยายน 2565 ทำการศึกษาโดยใช้แบบสำรวจของ UK HSA ในกลุ่มประชากรกว่า 3,000 คน พบว่า มีผู้ที่ประสบปัญหา Long COVID ราว 7.3% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 6.1%-8.5%)

เพศหญิงมีอัตราการเกิด Long COVID มากกว่าเพศชาย 1.84 เท่า คนที่มีโรคประจำตัวต่างๆ มีอัตราการเกิด Long COVID มากกว่าคนไม่มีโรคประจำตัว 1.55 เท่า

ในกลุ่มคนที่ประสบปัญหา Long COVID นั้น มีถึงหนึ่งในสี่ ที่รายงานว่า Long COVID ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ทั้งนี้คาดประมาณว่าจะมีจำนวนผู้ป่วย Long COVID สูงถึง 18,533,864 คน ในอเมริกา

ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการสำรวจก่อนหน้านี้โดย US Census Bureau ที่พบว่า 7.5% ของประชากรในอเมริกากำลังประสบปัญหา Long COVID อยู่

…รูปแบบบริการดูแลผู้ป่วย Long COVID ในยุโรป

Valenzuela C และคณะวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัยในทวีปยุโรป ได้เผยแพร่ผลการศึกษารูปแบบการบริการดูแลรักษาผู้ป่วย Long COVID ใน 26 ประเทศของยุโรป

ภาพรวมพบว่า มีการจัดบริการดูแลรักษาที่หลากหลาย โดยจัดระบบที่ดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary), ระบบการบริการฟื้นฟูสภาพ (Rehabilitation), และการกำหนดเวลานัดตรวจติดตามผลหลังจากหายจากการติดเชื้อ (First follow up visit timing)

ทั้งนี้มีบางประเทศที่จัดระบบบริการแบบทางไกล (Telemedicine)

…ปัญหา Long COVID นั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทั่วโลก เพราะส่งผลกระทบทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม

ยังไม่มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างจำเพาะเจาะจง การฉีดวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิด Long COVID ได้ราว 15% การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

ในช่วงที่ผ่านมา ไทยเรามีการจัดระบบบริการ Long COVID ขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลเผยแพร่ออกมาให้ทราบมากนัก เกี่ยวกับสถิติการรับบริการ ลักษณะทางคลินิก รวมถึงผลลัพธ์จากการดูแลรักษา และผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งระดับจุลภาคและมหภาค

ทั้งนี้ เราสามารถศึกษาบทเรียนจากประเทศอื่น และนำมาพัฒนาระบบของเราเพื่อให้การดูแลประชาชนได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น

ล่าสุดเมื่อวานนี้ 15 กันยายน 2565 ทาง WHO ได้ออกแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 รวมถึงแนวทางการดูแลและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย Long COVID ด้วย ส่วนใหญ่ยังคงเน้นการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาตามอาการ เพราะเรื่อง Long COVID ยังเป็นเรื่องใหม่มาก และมีอาการผิดปกติได้หลายอาการ และเป็นได้ทุกระบบของร่างกาย จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น และนำไปสู่การคิดค้นวิธีรักษาต่อไป

การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญ ใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง

1.Robertson M et al. The epidemiology of long COVID in US adults two years after the start of the US SARS-CoV-2 pandemic. medRxiv. 14 September 2022.

2.Valenzuela C et al. COVID-19 follow-up programmes across Europe: an ERS END-COVID CRC survey. European Respiratory Journal 2022 60: 2200923.

3.Shaw J. The Causes of Long COVID: Trying to understand infections’ persistent effects. Harvard Magazine. September-October 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา ‘อุ๊งอิ๊ง’! โชว์วิสัยทัศน์ เวทีผู้นำเอเปก

จับตา "นายกฯ อิ๊งค์" โกอินเตอร์! บินลัดฟ้าสหรัฐ ไม่ได้พบตัวแทนทำเนียบขาว แต่ไปเจอทีมไทยแลนด์ มอบนโยบายขับเคลื่อนความร่วมมือในภูมิภาคอเมริกา

นายกฯอิ๊งค์ เตรียมบินไปสหรัฐ ร่วมประชุมเอเปก

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางเยือนนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา และร่วมการประชุมผู้นำประเทศ

'เส้นเลือดแตกในสมอง' ทำไมพบบ่อยมากและรุนแรงขึ้น

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เส้นเลือดแตกในสมอง