ยก 4 เหตุผล หักล้าง สธ. ยุติ 'ยาฟาวิพิราเวียร์' รักษาโควิด

12 ก.ย. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่ Favipiravir…กับโรคโควิด-19 ควรยุติเสียที

1.รูปแบบการศึกษาเพื่อพิสูจน์สรรพคุณของยานั้น ตามหลักสากลคือ Randomized double blinded controlled trial ดังเช่นการวิจัยใน Clinical Infectious Diseases ที่ได้บอกไปแล้ว

ในขณะที่ของไทย ที่กรมการแพทย์ได้กล่าวถึงนั้นเป็นเพียง study ที่ไม่ได้มีการ blinding ทำให้มีน้ำหนักความน่าเชื่อถือน้อยกว่า double blinded RCT ในการพิสูจน์สรรพคุณของยา (double blinded RCT คือหลักการและรูปแบบวิธีวิจัยที่การแพทย์ระดับสากลยอมรับ)

2.ขนาดกลุ่มประชากรที่วิจัยนั้น จะเห็นได้ว่าของต่างประเทศที่ทำ RCT นั้นใหญ่ถึงเกือบ 1,200 คน และเป็นรูปแบบวิจัยที่เหมาะสมกับการพิสูจน์สรรพคุณยา

ในขณะที่ของไทยนั้นขนาดเล็ก 93 คน โดยรูปแบบวิจัยไม่ได้เหมาะสมกับการพิสูจน์สรรพคุณยา

3.สุดท้ายแล้ว ลองดูแนวทางการรักษาสากล ทั้งขององค์การอนามัยโลก อเมริกา และยุโรป ซึ่งล้วนใช้หลักฐานวิชาการเชิงประจักษ์ ผ่านการทบทวนอย่างรอบคอบ ก็จะเห็นได้ว่า ยาต้านไวรัสที่แนะนำนั้นคือ Paxlovid, Molnupiravir และ Remdesivir ครับ

4.หลักการดำเนินวิชาชีพทางการแพทย์คือ Beneficence, Non-maleficence, Justice และ Respect for person (Autonomy)

แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ย่อมทราบความหมายอย่างลึกซึ้งว่าหมายความว่าอย่างไรบ้าง

แนวทางการดูแลรักษาทางการแพทย์นั้นควรใช้ความรู้เชิงประจักษ์ที่ผ่านการพิสูจน์ตามมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น