ครม. อนุมัติงบ 1,334 ล้านบาท สานต่อมาตรการแก้ปัญหาโควิด

9 พ.ย.2564 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ 2565 พร้อมอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1,334.945 ล้านบาท ประกอบด้วย 4 หน่วยงาน ดังนี้ 1. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 528,400,000 บาท 2. กรมการแพทย์ จำนวน 500,000,000 บาท ใช้สำหรับจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ 3. กรมควบคุมโรค จำนวน58,165,000 บาท และ 4. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 248,380,000 บาท  และอนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมและใช้จ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีและเงินเหลือจ่ายจากโครงการที่ครม.ได้มีมติให้ความเห็นชอบแล้ว ตามมติครม.เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564, 5 พฤษภาคม 2564 และ10สิงหาคม 2564 ซึ่งขยายเวลาไปจนถึงเดือนธันวาคม 2564

สำหรับโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ 2565 มีวัตถุประสงค์ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการสร้างความเชื่อมั่น ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตวิถีใหม่(New Normal)  หรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามหลักการแพทย์และสาธารณสุข, ด้านการสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ ทำให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันหมู่ และมีความปลอดภัยจากการเสียชีวิตจากโควิด-19 รวมถึงการรักษาระดับความมั่นคงด้านสาธารณสุขได้อย่างต่อเนื่อง, ด้านฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัว มีอัตราเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) เป็นไปตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล และด้าน เสริมสร้างสังคมและวัฒนธรรม ให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรมตามเดิมได้ โดยยังคงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค DMHTTA

ทั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชากรในประเทศไทย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ปฏิบัติงานด่านหน้า กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ ได้รับการดูแลป้องกัน รักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว  ส่วนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการดูแลรักษาจากหน่วยบริการสถานพยาบาลตามระบบการสาธารณสุขที่รัฐจัดให้ตามสิทธิที่พึงได้  ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน ช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม 2564

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘อนุทิน’ สั่ง กทม.เร่งสอบที่มาป้ายโฆษณาขายพาสปอร์ตและสัญชาติ ย่านห้วยขวาง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ได้ทราบถึงกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เปิดเผยและวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างถึงกรณีมีการติดตั้งป้ายโฆษณาภาษาจีน

มหาดไทยพร้อมชง ครม.กำหนด เวลาเล่นแข่งวัวลาน

โฆษก มท. เผยมหาดไทยพร้อมชง ครม. เคาะกฎกระทรวงกำหนดเวลาเล่นแข่งวัวลาน 18.00 น. ถึง 6.00 น. ของวันรุ่งขึ้น หนุนท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายนายกรัฐมนตรี "อนุทิน" มอบปกครองวางมาตรการกวดขัน ป้องกันผลกระทบสังคม

มท.1 ขีดเส้น 15 วัน สอบข้อเท็จจริง-รายงานผลสรุปปมอื้อฉาว 'รองผู้ว่าฯยะลา'

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่ปรากฏข่าวทั้งในสื่อสาธารณะ และเกิดการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของข้าราชการของกระทรวงมหาดไทยระดับรองผู้ว่าราชการจังหวัด เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด

'มหาดไทย' แจงปมหลายอำเภองดทำบัตรประชาชน เหตุอยู่ในช่วงรอทดสอบมาตรฐานบัตร

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่ในวันที่ 22 เม.ย. 2567 สื่อสังคมออนไลน์ได้เผยแพร่ข้อความถึงกรณีมีประชาชนเดินทางไปที่ว่าการอําเภอเพื่อติดต่อทำบัตรประชาชนบแต่ไม่สามารถทำได้