'ดร.อนันต์'เผยงานวิจัย คนที่ติดโควิดมาแล้วไปฉีดวัคซีนกระตุ้น ต่อ ทั้งๆที่ระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายของตัวเองยังไม่พร้อมถูกกระตุ้นด้วยวัคซีน ส่งผลให้วัคซีนไม่สามารถกระตุ้นแอนติบอดีได้ดีเท่าที่ควร
2ก.ย.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก เรื่อง ติดโควิดเพิ่งหาย...ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นต่อเลยมั้ย? มีเนื้อหาดังนี้
ผมได้คำถามนี้บ่อยมาก และทราบว่าถ้าตอบไปว่ายังไม่ต้อง boost คนที่ถามหลายคนก็ไป boost อยู่ดี เพราะตั้งใจจะไปฉีดอยู่แล้ว แต่บังเอิญคำตอบที่ได้ไม่ค่อยตรงกับสิ่งที่อยากได้ยิน ผมรองานวิจัยที่จะสนับสนุนแนวคิดนี้มาสักพักครับ และ วันนี้ก็ได้เห็นออกมาจริงๆ ผลวิจัยมาจากทีมวิจัยกลุ่มใหญ่ของ NIH ของสหรัฐอเมริกา
ทีมวิจัยได้เปรียบเทียบตัวอย่าง 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเรียกว่า Prior-infected คือ คนที่ติดโควิดก่อนโอมิครอน แล้วไป boost เข็ม 3 หลังติด [คล้ายๆกับกลุ่มที่ถามคำถามข้างต้น] กลุ่มที่สอง เรียกว่า Un-infected คือ คนที่ไม่เคยติดโควิดมาก่อนเลย ฉีดวัคซีนปกติมา และ boost เข็ม 3 พร้อมกลุ่มแรก และ ไม่ติดโอมิครอนใดๆในช่วงที่เก็บข้อมูล กลุ่มที่สาม เรียกว่า BA-1 post-infected คือ คนที่มา boost เข็ม 3 แล้วติดโอมิครอน BA-1 หลังจากนั้น ในช่วงที่เก็บข้อมูล โดยทีมวิจัยเก็บข้อมูลที่ 30 วัน และ 60 วัน หลัง boost เข็ม 3 ในแต่ละกลุ่ม ว่าเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร
ข้อมูลมีเยอะครับ แต่จุดที่เป็นสาระสำคัญที่สุดอยู่ที่ ระดับแอนติบอดีก่อน boost เข็ม 3 และ ที่ 60 วันหลังจากนั้นในกลุ่มที่ 1 (กลุ่มสีฟ้า) แตกต่างจากอีก 2 กลุ่มอย่างชัดเจน ทีมวิจัยระบุว่า คนที่ไปติดโควิดมาแล้วไป boost ต่อ ทั้งๆที่ระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายของตัวเองยังไม่พร้อมถูกกระตุ้นด้วยวัคซีน ส่งผลให้ วัคซีนไม่สามารถกระตุ้นแอนติบอดีได้ดีเท่าที่ควร ตัวอย่างในกลุ่มที่ 1 นี้ ไม่สามารถกระตุ้นแอนติบอดีต่อไวรัสแทบทุกสายพันธุ์ไม่จำกัดแม้แต่กลุ่มโอมิครอน แสดงให้เห็นว่า ระบบภูมิคุ้มกันต่อการตอบสนองต่อวัคซีนจะไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ครับ
รายละเอียดเชิงลึกที่ทีมวิจัยได้อธิบายไว้สามารถอ่านต่อได้สำหรับผู้สนใจครับ แต่ ประเด็นหลักๆคือ การกระตุ้นด้วยวัคซีนควรดูปัจจัยความพร้อมของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วยครับ บริบทของแต่ละคนแตกต่างกัน
https://www.medrxiv.org/con.../10.1101/2022.08.30.22279344v1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวร้าย! ดร.อนันต์เผยโมเดอร์นาต้องระงับการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
หนาว! ไทยมีสิทธิ์เป็นประเทศที่สองในโลกที่ฝีดาษวานรโผล่นอกแอฟริกา
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'ดร.อนันต์' เตือนสติไวรัสยังเป็นสิ่งน่ากังวล
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัยสาเหตุโลกไม่นิยมใช้ 'โมนูพิราเวียร์' สู้โควิด!
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ