หมอธีระชี้ WHO ยอมรับหลายประเทศปรับเปลี่ยนการแจ้งผู้ป่วย ทำให้ยอดติดเชื้อต่ำกว่าความเป็นจริง ระบุสหรัฐให้ฉีดเข็มกระตุ้นด้วย Bivalent vaccine แล้ว ส่วนไทยต้องรอลุ้นต่อไป
01 ก.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด19ประจำวันที่ 1 กันยายน 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 528,220 คน ตายเพิ่ม 1,589 คน รวมแล้วติดไป 607,661,341 คน เสียชีวิตรวม 6,494,217 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 83.29 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 67.71
...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 15 ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย แม้ สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
...อัพเดตจากองค์การอนามัยโลก รายงานล่าสุดจาก WHO Weekly Epidemiological Update เมื่อคืนนี้ 31 สิงหาคม 2565 ในรอบเดือนที่ผ่านมา Omicron ครองการระบาดทั่วโลกถึง 99.6% ทั้งนี้พบว่า Omicron สายพันธุ์ย่อย BA.5 นั้นมีสัดส่วนสูงขึ้นจากเดิม 72.4% เป็น 78.2% ในขณะที่ BA.2 นั้นมีสัดส่วนเพียง 2.7% ส่วนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 (ที่พบครั้งแรกในอินเดีย) นั้นยังมีสัดส่วนไม่มากนัก แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นชัดเจนในหลายประเทศ จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ติดตามอย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตาม ในวีดิโอสัมภาษณ์ Dr.Kerkhove MV, WHO ที่เผยแพร่ผ่านทางทวิตเตอร์เมื่อคืนนี้ ได้เตือนว่าปัจจุบันหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงระบบรายงานเคส และระบบการตรวจ ทำให้เชื่อว่าตัวเลขติดเชื้อที่รายงานมานั้นต่ำกว่าที่เกิดขึ้นจริง โดยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คาดประมาณว่าดูจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้า ดังนั้นจึงไม่ควรประมาท
...วัคซีนรุ่นใหม่สำหรับโรคโควิด-19 ล่าสุดทาง US FDA ได้อนุมัติให้มีการใช้วัคซีนรุ่นใหม่ชนิด Bivalent ของ Pfizer-Biontech และ Moderna เพื่อฉีดเป็นเข็มกระตุ้นแล้ว โดยวัคซีนชนิด Bivalent นั้นจะครอบคลุมสายพันธุ์ดั้งเดิม และ BA.4/BA.5 ทั้งนี้ Pfizer-Biontech ใช้สำหรับคนอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ในขณะที่ Moderna ใช้สำหรับคนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
การฉีดเข็มกระตุ้นด้วย Bivalent vaccine นั้น สามารถให้ได้ตั้งแต่ 2 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนเข็มสุดท้าย (ไม่ว่าจะเป็นคนที่ได้เข็มสุดท้ายเป็นเข็มสอง หรือเป็นเข็มกระตุ้นก็ตาม) สำหรับไทยเรา คงต้องติดตามต่อไป
การระบาดยังคงรุนแรง ติดเชื้อไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงได้ ตายได้ และที่ควรตระหนักคือ ความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาระยะยาวอย่าง Long COVID ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิตและการทำงาน ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ และเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอนะครับ จะช่วยลดความเสี่ยงไปได้มาก
อ้างอิง
1. WHO Weekly Epidemiological Update. WHO. 31 August 2022.
2. Coronavirus (COVID-19) Update: FDA Authorizes Moderna, Pfizer-BioNTech Bivalent COVID-19 Vaccines for Use as a Booster Dose. FDA News Release. 31 August 2022.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
อ.ไชยันต์ยกตัวอย่างการอภัยโทษในต่างประเทศที่น่าสนใจ!
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์
ดิจิทัล วอร์รูม เตือนภัยฝ่าน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือเผชิญอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย น้ำท่วมตัวเมือง มีน้ำป่าไหลทะลักลงตามแม่น้ำสาย ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด พื้นที่เกษตรที่ติดลำน้ำสายได้รับความเสียหายอย่างหนัก ปัจจุบันแม้น้ำแห้งแล้วแต่ประชาชนยังจมโคลนจมฝุ่นต้องการการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากปัญหาที่น้ำท่วมได้ทิ้งไว้ตามบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่างๆ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โควิด game over แล้ว! ‘หมอยง’ ชี้จากนี้เหมือนโรคทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศา