'นพ.ธีระ' ชี้ยอดสังเวยโควิดไทยแม้นับแบบอนุรักษ์นิยมยอดเฉลี่ย 7 วันต่อประชากรล้านคนนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก เอเชีย และกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง แต่หากนับจริงมากกว่าที่รายงานแต่ละวันแน่
24 ส.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 635,627 คน ตายเพิ่ม 1,616 คน รวมแล้วติดไป 602,128,018 คน เสียชีวิตรวม 6,475,624 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อิตาลี และรัสเซีย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.11 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 62.19
...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 15 ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
...ข่าวดีเกี่ยวกับวัคซีนในวัยรุ่นของสหรัฐอเมริกา
ล่าสุดเมื่อวานนี้ทาง US CDC ได้อนุมัติให้สามารถใช้วัคซีน Novavax ในเด็กวัยรุ่น อายุ 12-17 ปีได้แล้ว
ถือเป็นวัคซีนตัวล่าสุดที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในเด็กวัยรุ่นได้ ต่อจาก Pfizer/Biontech และ Moderna
Novavax เป็นวัคซีนประเภท Protein subunit ซึ่งเป็นลักษณะคล้ายกับวัคซีนโรคอื่นๆ ที่เราใช้ในปัจจุบัน เช่น วัคซีนตับอักเสบบี
...ย้ำเตือนอีกครั้งว่า สถานการณ์ปัจจุบันของไทยนั้น แม้จะมีการรายงานตัวเลขเสียชีวิตเฉพาะคนที่ไม่มีโรคร่วม ก็พบว่าจำนวนเสียชีวิตเฉลี่ยรอบ 7 วัน ต่อประชากรล้านคนนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ของเอเชีย และของกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง มาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ การเสียชีวิตจริงย่อมมากกว่าที่รายงานในแต่ละวัน และสะท้อนถึงสถานการณ์ระบาดที่ยังรุนแรงการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องที่จำเป็น
โควิด-19 ไม่ใช่หวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ ไม่ชิลๆ แค่ติดแล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงได้ ตายได้ การฉีดวัคซีนนั้นช่วยลดโอกาสที่จะป่วยรุนแรงและเสียชีวิต แต่หากไม่ป้องกันตัวให้ดี ก็จะป่วยได้ตายได้เช่นกัน
ที่สำคัญคือ ปัญหา Long COVID ระยะยาว ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาจำเพาะเจาะจง และบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิตและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม แม้ติดเชื้อมาก่อน ก็ติดเชื้อซ้ำได้ หากไม่ป้องกันตัว และย่อมเสี่ยงที่จะป่วย ตาย และ Long COVID เป็นเงาตามตัว
หากติดเชื้อ ควรแยกตัวจากผู้อื่นในระยะเวลาที่เพียงพอ ยืนยันความรู้จากการวิจัยทางการแพทย์ชี้ให้เห็นว่า 5 วันไม่เพียงพอ แนวทางที่ควรทำคือ แยกตัวจากคนอื่น 7-10 วัน และก่อนออกไปใช้ชีวิตควรตรวจ ATK เป็นลบ และเช็คให้แน่ใจว่าไม่มีอาการป่วย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไปได้มาก การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ถือเป็นหัวใจสำคัญ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
มือมีดโจมตีนิวยอร์ก เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย
ในนิวยอร์กเมื่อวันจันทร์ ชายคนหนึ่งใช้มีดทำร้ายผู้คนตามสถานที่ต่างๆ ถึงสามแห่งในเมือง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อ
'อุ้ม พรรษวุฒิ' ลูกชาย 'สมบัติ เมทะนี' เสียชีวิต
หลังต่อสู้กับโรคมะเร็งมานาน อดีตนักร้องนักแสดง ที่เคยมีผลงานภาพยนตร์ กาเหว่าที่บางเพลง และเคยออกอัลบั้มเพลงกับค่ายสโตน อุ้ม-พรรษวุฒิ เมทะนี น้องชายของนักแสดง อั๋น-สิรคุปต์ เมทะนี ทายาทของพระเอกตลอดกาล แอ๊ด-สมบัติ เมทะนี ได้จากไปอย่างสงบด้วยโรคมะเร็ง
แฟนคลับเศร้า 'แม่บ้านมีหนวด' เสียชีวิต ในวัย 34 ปี
อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง แม่บ้านมีหนวด หรือ บิว-อิษณัฐ ชลมูณี ได้เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 34 ปี โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก อนุชิต คำน้อย หรือนักเขียนเจ้าของนามปากกา คิ้วต่ำ ได้เป็นคนที่ออกมาโพสต์แจ้งข่าวเศร้าในครั้งนี้
สิ้นศิลปินอาวุโส 'บรรเจิดศรี ยมาภัย' จากไปในวัย 100 ปี
วงการบันเทิงเศร้าสูญเสียนักแสดงอาวุโส บรรเจิดศรี ยมาภัย ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการบันเทิงมานานกว่า 50 ปี มีผลงานละครดังมากมาย อาทิ นางทาส, ดาวพระศุกร์, เกิดแต่ตม, สายโลหิต, บุพเพสันนิวาส ฯลฯ ได้เสียชีวิตอย่างสงบ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 เวลา 21:11 น. สิริอายุ 100 ปี