'หมอธีระ' อัพเดตความรู้โควิด-19 ชี้ผลวิจัยเมืองมะกันระบุผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 มีความเสี่ยงเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำมากกว่าไข้หวัดใหญ่ 60%-90%
17 ส.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 488,596 คน ตายเพิ่ม 1,318 คน รวมแล้วติดไป 596,447,987 คน เสียชีวิตรวม 6,458,197 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และไต้หวัน
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 80.01 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 69.8
...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย แม้ สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
...อัพเดตความรู้โควิด-19
"ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ" Lo Re III V และคณะ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลวิจัยในวารสารการแพทย์ระดับโลก JAMA เมื่อวานนี้ 16 สิงหาคม 2565 เปรียบเทียบความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา (ทั้งช่วงก่อนมีการฉีดวัคซีน และช่วงหลังจากมีการฉีดวัคซีน) กับสถิติของกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงปี 2018-2019
สาระสำคัญที่ค้นพบคือ ผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนั้น จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำภายใน 90 วัน มากกว่าโรคไข้หวัดใหญ่ 60%-90%
"เปรียบเทียบย่างก้าวของ BA.5 และ BA.2.75" แนวโน้มการระบาดของ BA.5 ตอนนี้ ทั่วโลกดูจะเริ่มชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามคาดว่ายอดติดเชื้อสะสมจะทะลุ 600 ล้านภายในปลายเดือนนี้
BA.2.75 ที่พบครั้งแรกในอินเดีย โดยระบาดแซง BA.5 ภายในประเทศ และพบในประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ในช่วงก่อนหน้านี้ จากการติดตาม พบว่ามีแนวโน้มระบาดขยายตัวขึ้น แต่อัตราการขยายตัว (rate of logistic growth) ของ BA.2.75 ประมาณ 0.07 ต่อวัน ซึ่งน้อยกว่า BA.5 ซึ่งเคยสูงกว่าถึง 2 เท่า (0.14 ต่อวัน) เมื่อประมาณพฤษภาคมที่ผ่านมา
หากดูค่า Rt ที่สะท้อนถึงสมรรถนะการแพร่เชื้อของ BA.2.75 ในอเมริกาขณะนี้อยู่ที่ 1.3 ซึ่งถือว่าน้อยกว่า BA.5 ในช่วงต้นของการระบาดที่มีค่าราว 1.6 ก็อาจพอประเมินโดยคร่าวได้ว่า หากระลอกถัดไปของโลกเป็น BA.2.75 ก็อาจมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่อาจไม่เร็วนัก และจำนวนติดเชื้อที่เกิดขึ้นอาจไม่มากเท่า BA.5
อย่างไรก็ตาม อาจมีสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีสมรรถนะในการแพร่ระบาดมากกว่านี้ การดำเนินชีวิตจึงควรมีสติ ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท
"WHO webinar on Long COVID in children and youth" ประมาณหกโมงครึ่งตอนเย็นวันนี้ องค์การอนามัยโลกจะมีการจัด webinar เรื่อง Long COVID ในเด็กและเยาวชน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ นักวิชาการ และผู้ที่สนใจ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหา Long COVID ว่าเป็นปัญหาท้าทายที่ทั่วโลกกำลังวางแผนรับมือ และเป็นปัญหาใกล้ตัวเรา หากใครสนใจสามารถลงทะเบียนออนไลน์ และเข้าฟังได้
การรู้เท่าทันสถานการณ์ จะนำไปสู่การตัดสินใจประพฤติปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ควรหลงติดกับดัก tone down harm and risk perception เพราะจะนำไปสู่ภาวะต้มกบ หรือรู้ตัวเมื่อสายเกินไป ป้องกันตนเองอย่างสม่ำเสมอ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องมีความสำคัญมาก
อ้างอิง
1. Lo Re III V et al. Association of COVID-19 vs Influenza With Risk of Arterial and Venous Thrombotic Events Among Hospitalized Patients. JAMA. 16 August 2022.
2. Bedford T. FHCRC. 16 August 2022.
3. WHO. 16 August 2022.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
อ.ไชยันต์ยกตัวอย่างการอภัยโทษในต่างประเทศที่น่าสนใจ!
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์
ดิจิทัล วอร์รูม เตือนภัยฝ่าน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือเผชิญอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย น้ำท่วมตัวเมือง มีน้ำป่าไหลทะลักลงตามแม่น้ำสาย ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด พื้นที่เกษตรที่ติดลำน้ำสายได้รับความเสียหายอย่างหนัก ปัจจุบันแม้น้ำแห้งแล้วแต่ประชาชนยังจมโคลนจมฝุ่นต้องการการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากปัญหาที่น้ำท่วมได้ทิ้งไว้ตามบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่างๆ
ประสบการณ์เฉียดตายของดารารุ่นใหญ่ ‘อัล ปาชิโน’
โควิด-19 เกือบคร่าชีวิตของเขา - อัล ปาชิโน นักแสดงชาวอเมริกัน ล้มป่วยหนักเมื่อปี 2020 หนักมากจนเขาแทบเอาชีวิตไม่รอด