14 ส.ค. 2565 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,095 คน ระหว่างวันที่ 5-11 สิงหาคม 2565 พบว่า จากข่าวโรคฝีดาษลิงที่สื่อนำเสนอ ณ วันนี้ ประชาชนค่อนข้างวิตกกังวล ร้อยละ 54.34 โดยมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงอยู่บ้าง ร้อยละ 66.76 แหล่งข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนเชื่อถือมากที่สุด คือ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 37.17 ระหว่างโรคโควิด-19 กับ โรคฝีดาษลิง ประชาชนกังวลทั้ง 2 โรค พอ ๆ กัน ร้อยละ 41.19 ทั้งนี้มองว่ารัฐบาลจะรับมือโรคฝีดาษลิงได้ ร้อยละ 46.58 อยากให้รัฐบาลประกาศ แจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องร้อยละ 81.55 รองลงมาคือแนะนำวิธีการป้องกันดูแลตนเองให้กับประชาชน ร้อยละ 60.82
แม้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศไทยยังมีจำนวนไม่มากแต่ประชาชนก็ค่อนข้างวิตกกังวล ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบทเรียนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาจึงทำให้ประชาชนรู้สึกกังวลไม่แตกต่างกัน แต่ด้วยการรับมือของกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ประชาชนจึงรู้สึกว่ารัฐบาลน่าจะรับมือกับโรคระบาดใหม่ได้ เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น รัฐบาลจึงควรรายงานสถานการณ์ ให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง
อ.ดร.ปณวัตร สันประโคน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพยาบาลและชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้างวิตกกังวลต่อโรคฝีดาษลิง เนื่องจากการแพร่กระจายเชื้อเกิดขึ้นในวงกว้างทั่วโลก แนวโน้มของการระบาดก็ยังไม่ชัดเจนและอาการแสดงคล้ายคลึงกันหลายโรค ซึ่งโรคฝีดาษลิงนอกจากส่งผลต่อการเจ็บป่วยทางกายยังส่งผลต่อสภาวะทางจิต เศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วยอีกด้วย ความรู้สึกกังวลต่อภาพลักษณ์ที่เกิดตุ่มรอยโรคตามร่างกาย การถูกตีตราจากปัจจัยเสี่ยงด้านการมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายรักชาย และต้องถูกแยกตัวเช่นเดียวกันกับโรคโควิด-19 ทำให้ต้องหยุดงานซึ่งกระทบต่อรายได้ ในขณะเดียวกันรายจ่ายที่ต้องใช้ระหว่างรักษาก็เพิ่มขึ้น ผลกระทบนี้จะรุนแรงมากขึ้นในกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อย ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนต้องการจากรัฐบาล คือ การประกาศแจ้งเตือนข้อมูลที่ถูกต้องและเรียกร้องให้ภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันประชาชนเองก็ควรป้องกันตนเองเช่นเดียวกันกับโรคโควิด-19 รวมทั้งติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดุสิตโพล ชี้ดัชนีการเมือง พ.ย. คะแนนตก สะท้อนประชาชนไม่เชื่อมั่นรัฐบาล
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,078 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 เฉลี่ย 4.92 คะแนน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2567 ที่ได้ 5.01 คะแนน
'ธนกร' ปลื้มเรตติ้ง 'พีระพันธุ์' พุ่งต่อเนื่อง
'ธนกร' ปลื้ม โพลเผยเรตติ้ง “พีระพันธุ์” พุ่งต่อเนื่อง หลังทุ่มเททำงานจ่อออกกม.ปฏิรูปรื้อลดปลดสร้างด้านพลังงานทั้งระบบ ชี้ เหตุผลงานรัฐบาลโดดเด่น แก้ปัญหารวดเร็ว ขณะฝ่ายค้านคะแนนลด ต้องปรับปรุง
'ดุสิตโพล' เปิดดัชนีการเมืองล่าสุด พบผลงาน แพทองธาร พุ่งเด่น ฝ่ายค้านคะแนนตก
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนตุลาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,136 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-30 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนตุลาคม 2567 เฉลี่ย 5.01 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2567 ที่ได้ 4.80 คะแนน
ดุสิตโพลชี้ คนไทยเกาะติดเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐ หวังสื่อไทยรายงานเป็นกลาง
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,247 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 22-25 ตุลาคม 2567
ดุสิตโพล ชี้ ประชาชนหวังเห็น ผบ.ตร.คนใหม่เคลียร์ปัญหาความขัดแย้งในองค์กร
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความคาดหวังต่อการทำงานของ ผบ.ตร.คนใหม่” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,244 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าปัญหาขององค์กรตำรวจ ณ วันนี้
ดุสิตโพล เผยดัชนีการเมืองไทยขยับขึ้น 'อิ๊งค์' บทบาทเด่น
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,183 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2567