12 ส.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 737,530 คน ตายเพิ่ม 1,580 คน รวมแล้วติดไป 592,851,373 คน เสียชีวิตรวม 6,447,737 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อิตาลี และบราซิล เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 79.49 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 61.07
…สถานการณ์ระบาดของไทย
จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 13 ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
…สถิติการเสียชีวิตของไทย
เมื่อดูค่าเฉลี่ยรอบ 7 วัน (7-day rolling average) ต่อประชากรล้านคน จะพบว่าการเสียชีวิตของไทยยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก สูงกว่าของทวีปเอเชีย และสูงกว่ากลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับสูงอย่างชัดเจน
ยิ่งหากเราทราบกันดีว่า จำนวนเสียชีวิตรายวันที่รายงานในระบบนั้นไม่รวมคนที่เสียชีวิตที่มีโรคอื่นร่วม ตัวเลขจริงของผู้เสียชีวิตทั้งหมดซึ่งตรวจพบว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 ย่อมสูงกว่าที่เห็นในรายงาน และถ้านำมาพล็อตกราฟ ก็จะยิ่งเห็นกราฟที่ทิ้งห่างจากประเทศอื่นมากขึ้น
เหนืออื่นใด ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าการระบาดยังคงรุนแรงและทำให้เกิดความสูญเสีย การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอจึงสำคัญมาก
…อัปเดต Long COVID
Crunfli F และคณะ จากประเทศบราซิล เผยแพร่ผลการวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ระดับสากล PNAS เมื่อวานนี้ 11 สิงหาคม 2565
สาระสำคัญคือ การแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้น นอกจากจะพบว่าทำให้เนื้อสมองฝ่อได้แล้ว เชื้อไวรัสโรคโควิด-19 จะติดเชื้อในเซลล์สมองชนิด Astrocytes ซึ่งเป็นเสมือนโครงสร้างของสมอง และทำหน้าที่ป้อนแหล่งพลังงานและนำส่งสารสื่อประสาทให้แก่เซลล์ประสาทในสมอง
การติดเชื้อใน Astrocytes นั้นทำให้กระบวนการเมตาบอลิสมและการนำส่งพลังงานและสารสื่อประสาทผิดปกติไป และส่งผลให้เซลล์ประสาททำงานผิดปกติและตายไปได้
กลไกทางพยาธิชีววิทยาที่ได้รับการศึกษาให้เห็นเช่นนี้ จึงอธิบายอาการและอาการผิดปกติทางสมองหรือระบบประสาทที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั้งในระยะแรก หรือในระยะยาวหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งพบปัญหาด้านความคิดความจำ และอื่นๆ ในผู้ป่วย Long COVID
การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด ฉีดวัคซีนให้ครบ ระมัดระวังเรื่องกิจกรรมเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง และสถานที่เสี่ยง การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเป็นหัวใจสำคัญ
สุขสันต์วันแม่แห่งชาติครับ ขอให้คุณแม่ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัย และมีความสุขครับ
อ้างอิง Crunfli F et al. Morphological, cellular, and molecular basis of brain infection in COVID-19 patients. PNAS. 11 August 2022.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป
'เส้นเลือดแตกในสมอง' ทำไมพบบ่อยมากและรุนแรงขึ้น
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เส้นเลือดแตกในสมอง
ไขข้อข้องใจ! ทำไมกินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี…… สนใจมั้ย?
สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว
สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ