'นพ.ธีระ' ยกผลศึกษาเยลตอกย้ำปัญหา Long COVID

'หมอธีระ' ชี้ยอดสังเวยโควิดไทยยังแรง แม้ สธ.ปรับระบบรายงาน ยกผลศึกษามหาวิทยาลัยเยลตอกย้ำ Long COVIDส่งผลกระทบสมดุลร่างกาย-ภูมิต้านทาน

11 ส.ค.2565 - นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 701,641 คน ตายเพิ่ม 1,670 คน รวมแล้วติดไป 591,852,043 คน เสียชีวิตรวม 6,443,974 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อิตาลี และออสเตรเลีย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 82.45 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 64.07

...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 11 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย แม้ สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

...อัพเดตความรู้สำคัญเรื่อง Long COVID
ทีมวิจัยจาก Yale School of Medicine นำโดย Prof.Iwasaki ได้เผยแพร่ผลการศึกษาสำคัญเรื่อง Long COVID ใน medRxiv เมื่อวานนี้ 10 สิงหาคม 2565 หากเราจำกันได้ ความรู้ในช่วงที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวนมากทั่วโลก ที่ประสบปัญหาอาการผิดปกติเรื้อรังยาวนาน Long COVID เกิดขึ้นที่หลากหลายระบบในร่างกาย กระทบทั้งสมรรถนะทางกาย จิตใจ/อารมณ์ และเคยมีการศึกษามากมายชี้ให้เห็นสมมติฐานที่อธิบายสาเหตุของ Long COVID ว่า อาจเกิดจากเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ที่ถูกทำลายจากการติดเชื้อ (tissue damage from infection), การเสียสมดุลของเชื้อโรคในร่างกายจนนำไปสู่การทำงานของระบบต่างๆ ผิดปกติ (Dysbiosis), การทำให้เกิดภูมิต่อต้านตนเอง (Autoantibodies), และการมีภาวะติดเชื้อแบบถาวร (Persistent infection)

ล่าสุดงานวิจัยของทีมงานมหาวิทยาลัย Yale ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนสุขภาพดี (HC) กลุ่มคนที่เคยมีประวัติติดเชื้อโรคโควิด-19 มาก่อน (CC) และกลุ่มคนที่มีภาวะ Long COVID (LC) สาระสำคัญที่ค้นพบคือ หนึ่ง ลักษณะของภูมิคุ้มกันแอนติบอดี้และภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ที่เกิดขึ้นนั้น ชี้ให้เห็นว่า คนที่มีปัญหา Long COVID มีลักษณะภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ โดยมีแนวโน้มว่าจะเกิดจากการที่ถูกกระตุ้นจากเชื้อหรือชิ้นส่วนของเชื้ออย่างต่อเนื่องเรื้อรัง สิ่งที่พบนี้ชี้ไปในทางที่เกิดภาวะ persistent infection หรือมีชิ้นส่วนของเชื้อหรือสารพันธุกรรมคงค้างในร่างกายอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

สอง กลุ่มผู้ป่วย Long COVID มี Autoantibodies ไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ สิ่งที่พบนี้ชี้ให้เห็นว่าสมมติฐานเรื่อง Autoantibodies อาจมีน้ำหนักน้อยลง

สาม กลุ่มผู้ป่วย Long COVID มีระดับภูมิคุ้มกันที่ชี้ให้เห็นว่าเกิดกระบวนการกระตุ้น (reactivation) ของไวรัสกลุ่ม Herpesvirus อาทิ Epstein-Barr virus และไวรัสงูสวัด (Varicella Zoster virus)

และสุดท้ายสำคัญมากคือ สี่ กลุ่มผู้ป่วย Long COVID นั้นมีระดับฮอร์โมน Cortisol ในเลือดน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ การมีระดับฮอร์โมน cortisol ต่ำนี้ ทีมวิจัยเชื่อว่าจะมีประโยชน์ในกระบวนการวินิจฉัยภาวะ Long COVID ได้ เพราะมีอำนาจการทำนายสูง อย่างไรก็ตาม การนำมาใช้วินิจฉัยทางคลินิก จำเป็นต้องคำนึงถึงโรคอื่นๆ ที่ผู้ป่วยอาจมีอยู่เดิม และส่งผลต่อภาวะพร่องฮอร์โมนดังกล่าวด้วย

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยทั่วโลกที่กำลังพยายามทำกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้เราสามารถเข้าใจธรรมชาติของภาวะ Long COVID หาสาเหตุหรือกลไกที่อธิบายการเกิดภาวะผิดปกตินี้ และนำไปสู่การหาวิธีวินิจฉัย และวางแผนดูแลรักษาได้อย่างจำเพาะเจาะจง คงต้องมีการติดตามอัพเดตกันอย่างสม่ำเสมอ

...ด้วยความรู้จนถึงปัจจุบัน ทำให้เราตระหนักได้ว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นไม่ได้จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ และที่สำคัญคือ เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติระยะยาว Long COVID เป็นของจริง และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทำให้เกิดความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

สถานการณ์ระบาดของไทยยังมีการติดเชื้อแพร่เชื้อกันมากมายในแต่ละวัน ตัวเลขที่รายงานประจำวันนั้นต่ำกว่าสถานการณ์ติดเชื้อที่เกิดขึ้นจริงเพราะแจ้งแต่จำนวนผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเป็นเรื่องจำเป็น...

อ้างอิง
1. The immunology and immunopathology of COVID-19. Science. 10 March 2022.
2. Distinguishing features of Long COVID identified through immune profiling. medRxiv. 10 August 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดิจิทัล วอร์รูม เตือนภัยฝ่าน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม

ภาคเหนือเผชิญอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย น้ำท่วมตัวเมือง มีน้ำป่าไหลทะลักลงตามแม่น้ำสาย ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด พื้นที่เกษตรที่ติดลำน้ำสายได้รับความเสียหายอย่างหนัก ปัจจุบันแม้น้ำแห้งแล้วแต่ประชาชนยังจมโคลนจมฝุ่นต้องการการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากปัญหาที่น้ำท่วมได้ทิ้งไว้ตามบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่างๆ  

'ไชยันต์' ตั้งปุจฉา 'ไม่มีสมบูรณาญาสิทธิราชก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง'

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่มีสม