ผลวิจัยชี้เด็กติดโควิด เสี่ยง 'โรคหัวใจ-ไตวาย-เบาหวาน-ลิ่มเลือดอุดตัน' เพิ่มขึ้น

5 ส.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 752,284 คน ตายเพิ่ม 1,595 คน รวมแล้วติดไป 585,887,502 คน เสียชีวิตรวม 6,429,389 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 77.51 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 53.85

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 14 ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย แม้ สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

…อัปเดต Long COVID ในเด็ก

ข้อมูลวิจัยล่าสุดจากทีมงานของ US CDC เผยแพร่ใน MMWR วันนี้ 5 สิงหาคม 2565

สาระสำคัญคือ เด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้น ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาความผิดปกติระยะยาวอย่าง Long COVID เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แม้โอกาสเกิดจะน้อยกว่าผู้ใหญ่ก็ตาม

การติดเชื้อโรคโควิด-19 จะทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ฯลฯ ได้มากขึ้น 1.1-2.8 เท่า ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

ที่น่ากังวลคือ พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะไตวาย มากขึ้น 27-52% ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 มากขึ้น 14-31% ในเด็กอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน 1.5-2.7 เท่าในเด็กอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

ผลการศึกษาชิ้นนี้ ชี้ให้เราตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลลูกหลาน และป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม หากเด็กที่เราดูแลนั้นเคยติดเชื้อมาก่อน ผู้ปกครองก็ควรหมั่นสังเกต ประเมินสถานะสุขภาพของเด็กอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติ ก็ควรพาไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจ วินิจฉัย และดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที

…สถานการณ์ไทยเรายังมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง

1.Kompaniyets L et al. Post–COVID-19 Symptoms and Conditions Among Children and Adolescents — United States, March 1, 2020–January 31, 2022. MMWR. 5 August 2022

2.Credit ภาพ 2: Tyler Black, Source: MMWR, 5 August 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยข้อมูลระบาดวิทยา พบ ‘โควิด-ไข้หวัดใหญ่’ ยังแพร่เชื้อต่อเนื่อง

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ยังมีต่อเนื่อง ไวรัสไข้หวัดใหญ่กำลังพุ่งสูงขึ้นตามฤดูกาล เข้าฤดูฝนแล้ว เชื้อไวรัสทางเดินหายใจทุกชนิดจะกลับมาระบาดหนักอีก

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน