กรมวิทย์ฯจับมือกองทุนประกันวินาศภัย ช่วยประกันโควิด ' เจอ-แจก-จบ'รับเงินเร็วขึ้น

2ส.ค. 2565- นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลระบบอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กับ กองทุนประกันวินาศภัย โดยมี นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย

นพ. ศุภกิจ กล่าวว่า กรมวิทย์ฯ ได้พัฒนาระบบการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์อิเล็กทรอนิกส์ กรณีโรคโควิด 19 ผ่านระบบ Co-Lab 2 ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศกำหนด เพื่อให้การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ของห้องปฏิบัติการเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ไปยังหน่วยงานต่างๆ อาทิ การเชื่อมโยงกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โรงพยาบาล หน่วยงานด้านสาธารณสุข เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยงจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาของผู้บริหารในการกำกับติดตามสถานการณ์ วางมาตรการป้องกันควบคุมโรค และตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการต่างๆ ในส่วนที่รับผิดชอบ รวมทั้งการติดตามข้อมูลการเบิกจ่ายเงินงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนของค่าบริการสาธารณสุขหรือค่าบริการทางการแพทย์ กรณีโรคโควิด 19
สำหรับความร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัยครั้งนี้ กรมวิทย์ฯ จะเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR ให้กับกองทุนประกันวินาศภัยสามารถตรวจสอบยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จริง คาดว่าจะช่วยลดระยะเวลา ในการตรวจสอบเอกสารของเจ้าหน้าที่ และช่วยให้ประชาชนผู้ติดเชื้อให้ได้รับเงินเยียวยารวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่นำออกจากระบบ CO-Lab 2 ทางกรมฯ และกองทุนประกันวินาศภัยได้ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต "ชุดทดสอบสารพาราควอดตกค้างในผักและผลไม้สด"

วันนี้ (26 สิงหาคม 2567) นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชุดทดสอบอิมมูโนโครมาโตกราฟี สำหรับตรวจหาสารพาราควอตตกค้างในผักและผลไม้สด ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์