ผลวิจัยพบอาการ 'ลองโควิด' แตกต่างตามสายพันธุ์ไวรัส

1 ส.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 559,415 คน ตายเพิ่ม 708 คน รวมแล้วติดไป 582,031,806 คน เสียชีวิตรวม 6,419,545 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 83.44 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 64.68

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

…อัปเดตความรู้โควิด-19

1.”Long COVID มีอาการผิดปกติที่แตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ของไวรัส”

Canas LS และคณะจาก King’s College London ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาจากฐานข้อมูลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 336,652 คน ซึ่งได้ทำการบันทึกอาการต่างๆ ผ่านทาง smartphone โดยติดเชื้อในช่วงที่สายพันธุ์ต่างๆ ตั้งแต่สายพันธุ์ดั้งเดิม, อัลฟา, และเดลตา ได้ระบาด

พบว่ามี 9,323 คนที่ประสบปัญหา Long COVID

ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์กลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมมีอาการที่พบบ่อย 4 ประเภท สายพันธุ์อัลฟา 7 ประเภท และสายพันธุ์เดลตา 5 ประเภท

ที่พบกันได้บ่อยในทุกสายพันธุ์ ได้แก่ กลุ่มอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจและทางเดินหายใจ, กลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท, กลุ่มอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับหลายอวัยวะ, และกลุ่มอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์ Omicron ที่ระบาดทั่วโลกในปี 2022 นี้ คงต้องรอดูผลการวิจัยอื่นๆ ที่จะตามมา

ทั้งนี้ ผลการศึกษานี้ย้ำเตือนให้เราเห็นว่า “Long COVID เป็นของจริง” ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการดำรงชีวิตและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศในระยะยาวได้

การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

2.”การใส่หน้ากากช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ”

Alihsan B และคณะจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยทบทวนข้อมูลวิชาการอย่างเป็นระบบ (Systematic review) และเผยแพร่ผลการศึกษาใน medRxiv เมื่อวานนี้ 31 กรกฎาคม 2565

สาระสำคัญคือ การชี้ให้เห็นว่า คนที่ใส่หน้ากากจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อน้อยกว่าคนที่ไม่ใส่หน้ากากอย่างมีนัยสำคัญ

…สถานการณ์ระบาดของไทยในปัจจุบัน ยังรุนแรง ดังจะเห็นได้จากสภาวะรอบตัว ที่ติดเชื้อกันทั้งในที่ทำงาน และในครัวเรือนจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง

และมีจำนวนเสียชีวิตไปกว่า 700 คนในช่วงเดือนที่ผ่านมา

ระมัดระวังการกินดื่ม สังสรรค์ ปาร์ตี้ ร่วมกับผู้อื่นนอกครัวเรือน และในที่ทำงาน เพราะติดกันเยอะจากกิจกรรมลักษณะนี้

การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเป็นเรื่องจำเป็น และจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อไปได้มาก

อ้างอิง

1.Canas LS et al. Profiling post-COVID syndrome across different variants of SARS-CoV-2. medRxiv. 31 July 2022

2.Alihsan B et al. The Efficacy of Facemasks in the Prevention of COVID-19: A Systematic Review. medRxiv. 31 July 2022

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’  ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้

เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป

สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว

สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ